พระเก่าที่น่าเก็บ

ตำหนิและวิธีการดูพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

%e0%b8%95%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a1

โดย อ.สมาน คลองสาม

          สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านคอลัมน์ของกระผมในนิตยสารพระเครื่องอภินิหาร กระผมเองได้เขียนเรื่องราวของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นบางตอนในช่วงชีวิตของท่าน พร้อมทั้งประวัติความเป็นมาในการสร้างพระเครื่องเนื้อผงเป็นรูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งเป็นพระเนื้อผงที่รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในวงการพระเครื่องทั้งประเทศไทยและนักนิยมสะสมพระเครื่องในต่างประเทศ ทั้งเอเชียเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นพระที่เต็มองค์สมบูรณ์หรือจะชำรุดหักแตกเป็นชิ้นไม่ว่าใหญ่หรือเล็กก็ยังมีชาวต่างชาติให้ความสนใจ ถึงกลับมาเช่าไปบูชาอาราธนาติดตัวเพื่อป้องกันภัยพิบัติและอาราธนาติดตัวไปทำมาค้าขายกันอย่างมากมาย

          มีทั้งชาวจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อชาวฮ่องกง แม้กระทั่งชาวจีนที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซียก็เดินทางมาเช่าหากันอย่างมากมาย แล้วก็นำมาให้ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยที่มีบุคลากรผู้ชำนาญออกใบรับรองพระแท้ พระสมเด็จทั้ง 3 วัดที่ท่านได้สร้างไว้เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม และพระสมเด็จกรุวัดเกศไชโย กันอย่างมากมายจนผู้เขียนเองและคณะกรรมการที่ตลาดพระพันทิพย์ยังต้องบอกว่าเยอะมากจริงๆครับ

          นี่คงเป็นด้วยพุทธคุณอันยอดเยี่ยมของพระสมเด็จที่มีพระพุทธคุณไม่ว่าจะเป็นพระของท่านที่สมบูรณ์หรือแตกหักเป็นชิ้นเล็กก็ยังมีพุทธคุณจนเป็นที่ยอมรับของคนไทยและชาวต่างชาติอีกด้วย

         ในเล่มนี้กระผมเองจะขอนำรูปของพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์อกใหญ่ มาให้ท่านผู้ที่ติดตามอ่านคอลัมน์ของกระผมในนิตยสารพระเครื่องอภินิหารได้ชม และเพื่อจะได้เก็บไว้เป็นแบบอย่างในการสังเกต เมื่อได้พบเจอกับพระองค์จริง

          พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่ในวงการนิยมการมีอยู่ด้วยกัน 3 พิมพ์คือ พิมพ์อกใหญ่ ดังในรูปที่กระผมได้นำมาให้ท่านได้ชมขนาดขององค์พระสูง 3.3 เซ็นติเมตร กว้าง 2.2 เซ็นติเมตร เท่านั้น จะตัดเกินไปบ้างเป็นบางองค์ก็ไม่เกินครึ่งมิลลิเมตรเท่านั้น ตามหลักสากลในวงการพระทั่วไปที่เชื่อถือได้ ส่วนรูปทรงของเราก็จะเป็นไปตามชื่อของพระที่เรียกกัน คือมีรูปทรงคล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังคว่ำเรียกว่า ทรงมอญ ที่ตั้งอยู่ในซุ้มครอบแก้ว คือจากพระเกศลงมาถึงฐานชั้นล่าง จะมีลักษณะชลูดและเล็กกว่าพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ที่ตั้งอยู่ในซุ้มเช่นกัน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่นั้นจะมีขนาดสูง 3.4-3.5 เซ็นติเมตร ความกว้างเท่าที่กระผมได้ทำแบบไว้ไม่เกินนี้อย่างแน่นอน นี่คือหลักสากลของการดูพระสมเด็จที่ในวงการเขารับรองกันครับ

         ผมขอนำเรื่องราวความเป็นมาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตให้ได้อ่านในเรื่องความสามารถของท่าน ที่ได้กระทำเพื่อเป็นคติธรรมสอนผู้คนแบบการกระทำให้เห็นที่เป็นเรื่องแปลกอย่างยิ่ง ที่พระภิกษุองค์ไหนจะสามารถทำเช่นนี้ได้ เรื่องมีอยู่ว่า ยังมีเรื่องเกี่ยวกับความเมตตากรุณาของเจ้าประคุณสมเด็จอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะได้รับการจดจำไว้เป็นแบบอย่าง คือเรื่องเกี่ยวกับการรับปัจจัยของพระสงฆ์ ซึ่งในสังคมไทยเรายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าพระภิกษุควรรับปัจจัยหรือไม่ ทั้งนี้ในสิกขาบทบัญญัติไว้ว่า ภิกษุห้ามจับเงินทองทำให้เกิดเป็นข้อรังเกียจกันในหมู่ภิกษุว่า ภิกษุที่ไม่รับประเคนเงินทองนั้นมีศีลบริสุทธิ์กว่าภิกษุที่รับเงินของชาวบ้าน

          ในที่นี้จะได้ทราบว่า เจ้าพระคุณสมเด็จมีจริยวัตรเช่นใด โดยปกติเจ้าพระคุณสมเด็จฯพระสมถะไม่ชอบสะสมทรัพย์สินมีค่าอะไร ครั้งหนึ่งท่านได้รับนิมนต์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ไปฉันในพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายปัจจัยรูปละ 20 บาทซึ่งนับเป็นเงินจำนวนมากในสมัยนั้น เจ้าประคุณสมเด็จเห็นแล้วทำดีใจรีบเก็บเงินใส่ย่ามทันที พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสถามว่า “อ้าวพระจับเงินได้หรือ” เจ้าประคุณสมเด็จทูลตอบว่า ขอถวายพระพรเงินพระจับไม่ได้แต่ขรัวโตชอบ”

          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟังแล้วชอบพระทัยจึงพระราชทานรางวัลอีก เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จหิ้วย่ามออกจากพระราชวังท่านก็บอกกับชาวบ้านแถวนั้นว่า ท่านจะแจกเงินให้รีบมารับเร็วๆใครมาท่านก็ให้หยิบเอาเองจากในย่ามท่าน เป็นอันว่าเงินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายมาหมดเกลี้ยง ท่านก็คุยพึมพัมว่า “โอ้วันนี้รวยใหญ่วันนี้รวยใหญ่” ทั้งๆที่ในย่านไม่มีอะไรเหลือแล้ว

          อย่างนี้แสดงว่าท่านไม่ใยดีเงินทองจริง การจับหรือไม่จะไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะมันอยู่ที่ใจว่ายังอยากได้หรือเปล่า ถ้าใจมันไม่อยากได้เสร็จแล้วจะไปมันก็ไม่ผิดอะไร เหมือนกับที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนว่า เจตนานั้นแหละคือกรรม ทั้งยังเป็นข้อดีเสียอีกเพราะสามารถนำเงินนั้นมาอนุเคราะห์ต่อชาวโลกที่ขาดโอกาส เช่นนี้แล้วย่อมประเสริฐกว่าพวกที่รักษาศีลภาวนา หวังความเคารพนับถือจากประชาชน
เรื่องพระไม่จับเงินนี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือประวัติท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และได้นำมาเขียนไว้ให้ท่านได้อ่านกันเพื่อประดับความรู้ครับ ผมสมาน คลองสาม ผู้เขียนคอลัมน์อาจจะใช้ถ้อยคำเขียนที่ไม่ถูกต้องไปบ้างต้องขออภยผู้ที่มีความรู้ในด้านการเขียนด้วยครับ

ตำหนิและวิธีการดูพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกใหญ่
1. ให้ดูขอบเส้นซุ้มของพระจะเป็นเส้นหนาและมองดูล่ำใหญ่
2. ขอบของพระด้านขวามือเราด้านบนส่วนใหญ่จะตัดขอบเหลือเส้นขอบของแม่พิมพ์แทบทุกองค์
3. ให้สังเกตดูตรงเกศที่แหลมเป็นเส้นคมยาวขึ้นไปจรดซุ้มด้านในตรงข้างเส้นของเกศจะมีตุ่มยื่นออกมาจากเส้นของเกศให้เห็น
4. ใบหน้าของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกใหญ่ ลักษณะของใบหน้าจะมีลักษณะค่อนข้างกลมนูนสูงเด่น
5. พระพิมพ์อกใหญ่นี้ทั้งสองข้างของใบหน้าจะมีเส้นใบหูบางๆพอมองเห็น ทางด้านขวามือเราคือซ้ายของพระเส้นใบหูจะชัด บางองค์ที่ติดชัดเส้นของใบหูจะมาจรดบ่า ส่วนเส้นใบหูด้านขวาของพระจะต่ำและสั้นกว่าเส้นใบหูทางด้านซ้ายและเส้นใบหูจะไม่จรดบ่า
6. หัวไหล่ของพระมีลักษณะมนหลังแขนท่อนบนทั้งสองข้างจะมีลักษณะล่ำสันเหมือนนักเพาะกาย (นักกล้าม) ส่วนลำแขนค่อนข้างจะเป็นเส้นกลมเรียวเล็ก จากข้อศอกซ้ายมาจรดที่ข้อศอกขวามองดูเหมือนลำแขนท่อนล่างมาต่อกับแขนท่อนบนให้สังเกตดูตามภาพ
7. ลำตัวของพระจะมีลักษณะโดยรวมล่ำใหญ่ จากหน้าอกลงมาถึงลำตัวจนถึงตรงท้องจะมีลักษณะผายออกจนติดกับลำแขนด้านในมองดูเหมือนพระบูชาสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่ง
8. หน้าตักมีลักษณะหนาใหญ่เข่าโตทั้งสองข้างหัวเข่าทั้งสองข้างยกขึ้นเล็กน้อย
9. ฐานชั้นบนจะหนาใหญ่เช่นกันรูปลักษณะของฐานตรงหัวฐานด้านขวาของพระจะงอนขึ้น มองดูคล้ายเรือหันหัวมาทางซ้ายมือเรา จากหัวฐานที่งอนขึ้นด้านบนจะมีเส้นของฐานอีกชั้นหนึ่งมองดูเปรียบเสมือนผ้าอาสนะที่ปูให้พระนั่ง จึงทำให้ร่องของฐานชั้นบนดูห่างจากหน้าตักพระ
10. ฐานชั้นกลางเป็นฐานที่มีลักษณะคล้ายโต๊ะหมู่ที่เป็นโต๊ะขาสิงห์ ดูเหมือนนำมาตั้งรองรับฐานชั้นบนหัวทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นตุ่มกลมโตจนทำให้ร่องฐานตรงกลางดูชิดกัน
11. ฐานชั้นล่างเป็นลักษณะของฐานหมอนเป็นแท่งสี่เหลี่ยมตรงหัวของฐานด้านขวาของพระจะมีเส้นเนื้อเกินเป็นตุ่มแหลมออกมาชิดซุ้มด้านในทั้งสองข้าง
12. ส่วนด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์อกใหญ่ จะมีลักษณะเป็นรอยแยกของเนื้อพระเนื่องจากการผ่าตัดเอาเนื้อที่เกินออกจากพิมพ์โดยการปาดจากด้านบนลงมาด้านล่างจึงทำให้พระโก่งแทบทุกองค์

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox