พระเก่าที่น่าเก็บ

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอก …โอย อ.สมาน คลองสาม

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%88%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%ab%e0%b8%a1-%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a1

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอก

โดย…..สมาน คลองสาม

          สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่ติดตามเรื่องพระสมเด็จของพระผมในนิตยสารปกเหลืองพระเครื่องอภินิหารทุกท่าน เรากลับมาคุยถึงเรื่องพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม หรือชื่อทางการได้ตั้งขึ้นมาใหม่ว่า “วัดใหม่อมตรส” กันต่อดีกว่านะครับ ในเล่มนี้กระผมขอเขียนถึงพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู “แขนหักศอก” พิมพ์นี้จะมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม ในอดีตเคยมีนักสะสมพระเครื่องบางท่านเรียกชื่อว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” ก็มี แต่ถ้าเราใช้ความสังเกตสักนิด แล้วค่อยๆ พิจารณาดูก็จะเห็นข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดของพิมพ์พระ

          พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ แขนหักศอก ลักษณะเด่นของพระพิมพ์นี้ก็ยังคงมี เส้นสังฆาฏิ ปรากฏเป็นเส้นคมชัด วิ่งผ่านตั้งแต่ยอดพระอุระจนจรดหน้าตัก วงแขนจะมีลักษณะหักศอกอย่างชัดเจนนั่นเอง

          พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ แขนหักศอก พระพิมพ์นี้จะมีขนาดขององค์พระโดยรวม พร้อมขอบขององค์พระทั้งหมด จะเล็กกว่าพระสมเด็จในกรุของวัดบางขุนพรหมที่พบทุกพิมพ์ จนบางครั้งบางคนดูแล้วบอกว่าเล็กเกินไปก็มี ตัวเราไม่รู้จักพิมพ์ไม่รู้จักขนาด ก็อาจจะพลาดหลุดมือไปได้เพราะพระพิมพ์นี้จะไม่มีเส้นบังคับพิมพ์ด้านข้างจึงทำให้ดูเล็ก

          ข้อพิจารณาอันดับแรกคือ ในพระหลายองค์ที่เคยผ่านตา ผ่านการพิจารณาของกระผมจะเห็นว่า “การตัดขอบ” ของพระพิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอกนั้น จะตัดชิดจนแทบไม่เหลือเส้นบังคับพิมพ์ให้เห็นเสียเป็นส่วนใหญ่

          พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ แขนหักศอกนี้ เนื้อของพระจะมีลักษณะค่อนข้างขาว แห้งกระด้าง เนื้อในจะไม่ค่อยเห็นส่วนผสมของมวลสารมากนัก จะเห็นบ้างก็เพียงเล็กน้อยเป็นบางจุด อาจจะเป็นมวลสารเป็นก้านธูป และเม็ดผงสีน้ำตาลเป็นจุดๆตรงที่ได้สัมผัสกับมือเรา ตามขอบข้างที่เราได้จับบ่อยๆ ที่กระผมได้เขียนบอกกับท่านผู้อ่านว่าให้ดูพระสมเด็จให้ดูตามมุมของพระ และขอบด้านข้างนั้น เวลาที่ทุกคนหยิบพระสมเด็จขึ้นมาดู ก็จะจับตรงมุมและด้านข้างเสียเป็นส่วนมาก จึงทำให้เนื้อของพระที่ถูกสัมผัสกับมือจะนุ่ม และเป็นมันเงาสวย จนนักเส่นพระสมเด็จแทบทุกคนเรียกตามภาษาเซียนพระใช้คำว่า “ตรงนี้เนื้อจัดจัง”

          คำว่า “เนื้อจัด” นั้นน่าจะเป็นเนื้อของพระที่ได้สัมผัสมือจะเป็นมันหนึกนุ่ม เห็นมวลสารบางชนิดที่ได้ผสมอยู่ในองค์พระ ถ้าเราดูตามจุดที่กระผมเขียนด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาก็อาจจะบอกได้ถึงพระองค์ที่เราดูอยุ่ว่าแท้หรือไม่แท้ ก็แทบจะได้เลยครับ นับเป็นความแปลกและความมหัศจรรย์ของ “เนื้อพระสมเด็จ” ทุกวัดที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ทั้ง 3 วัด เนื้อของพระที่ท่านสร้าง เมื่อถูกสัมผัสกับมือ หรือห้อยคอติดตัว เมื่อพระได้ถูกสัมผัสกับตัวของผู้นั้น ก็จะเกิดความมันหนึกนุ่มขึ้นมา จนเนื้อพระเป็นเงานุ่มสวยงาม จนคนในสมัยเก่าบอกต่อๆ กันมาว่า พระที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) ได้สร้างไว้นั้น เวลาไม่ได้ใช้หรือไม่ได้สัมผัสจะขาวแห้งเหมือนชามสังคโลกเก่าๆ แต่ถ้าได้สัมผัสกับมือหรือร่างกายของผู้ที่ได้ติดตัว เนื้อพระจะเงาฉ่ำหนึกนุ่มเหมือนงาช้าง เป็นคำที่กระผมผู้เขียนได้ยินคำพูดนี้มาตั้งแต่เด็กๆ ในเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกันในวงของนักเล่นพระ กระผมยังจำคำพูดนั้นจนถึงมุกวันนี้ ในเวลาหลายปีต่อมาจนถึงปัจจุบัน กระผมได้เช่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายต่อหลายองค์ เมื่อเวลาที่กระผมดูพระแล้วจะเช่าพระองค์นี้ ก็ยังนึกถึงคำพูดนี้อยู่ตลอดมาแล้วในที่สุด เนื้อพระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต พรหมรังษี) ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

          การมองดูพระพิมพ์สมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอก รูปลักษณะโดยรวมเหมือนพระพุทธรูปบูชาตั้งอยู่บนโต๊ะหมู่ คือ มีโต๊ะ 3 ตัว ตั้งอยู่ในซุ้มครอบแก้ว นับตั้งแต่ด้านล่างโต๊ะชั้นล่างเป็นโต๊ะตัวที่ 1 ค่อนข้างมาก แข็งแรงตัวใหญ่ ชั้นที่ 2 ฐานชั้นกลาง เป็นโต๊ะมีขาเป็นขาสิงห์ ชั้นที่ 3 เป็นฐานลักษณะฐานเขียง คือ เป็นสันโค้งหัวท้ายในแล้วมีผ้าอาสนะรองรับองค์พระอีกชั้น

          พระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ด้านบนเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิราบ ห่มจีวรเฉียงเปิดไหล่ขวา นำสังฆาฏิมาพาดไว้ที่ไหล่ซ้ายจนมองเห็นเด่นชัดจึงทำให้ หัวไหล่ข้างซ้ายสูงกว่าไหล่ด้านขวา นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ท่านผู้อ่านควรสังเกต ในการดูพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฆังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอก

          อนึ่ง พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์นี้ มีนักสะสมพระสมเด็จเรียกกันไปหลายชื่อ แต่ที่กระผมเรียกพิมพ์นี้ว่าเป็น “พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอก” ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้จำพิมพ์ และตำหนิได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ ถ้าผิดไปต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
สำหรับรายละเอียดในเรื่องของจุดตำหนิ และแนวทางการศึกษาเอกลักษณ์ของพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู แขนหักศอก ท่านสามารถศึกษาได้ตามภาพที่ให้มานี้ และเช่นเคยครับหากท่านอ่านแล้วยังมีข้อสงสัยประการใด เชิญโทรศัพท์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ หรือมาร่วมพบปะพูดคุยหรือนำพระมาให้ตรวจเช็คได้ที่ร้าน สมาน คลองสาม ชั้น 3 ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน จ.นนทบุรี (หยุดทุกวันจันทร์) ผมยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

1.ใบหน้าคล้ายรูปไข่ มีคางเสี้ยมเล็กลงมาหาลำคอ ใบหน้าด้านขวามือจะหนาและสูงกว่าด้านซ้ายมือเราเวลาดูพระ
2.เกศยาวจากเศียรของพระไปจรดซุ้ม กดูใหญ่เด่นชัด
3.หัวไหล่ทั้งสองข้างยกขึ้นเล็กน้อย
4.วงแขนมีลักษณะหักศอก ลำแขนด้านบนใหญ่ ล่ำ โค้งเล็กน้อย ส่วนลำแขนด้านล่างจากข้อศอกลงมาถึงมือ เป็นเส้นเรียวเล็กจนถึงมือที่ประสานกันมองดูเหมือนนำแขนท่อนล่างไปต่อกันแขน
5.บนหน้าอกของพระจะมีเส้นสังฆาฏิ 2 เส้น พาดจากบ่าซ้ายลงมาถึงมือ เป็นเส้นเห็นเด่นชัดตามชื่อที่เรียกกันว่า พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิ
6.หน้าตักเป็นลักษณะนั่งขัดสมาธิราบ ยกเข่าซ้ายขึ้นเล็กน้อย
7.ฐานชั้นบนมีเส้นเล็กๆ เวียนจากหัวฐานขึ้นไปรับหน้าตัก มองดูเหมือนพระนั่งบนอาสนะ
8.ลักษณะของฐานชั้นกลางเป็นฐานคมขวาน ด้านบนจะเป็นเส้นสันคมเด่นชัด ส่วนด้านล่างของฐานจะมีลักษณะเว้าลึก แล้วหายไปบนฐานชั้นล่าง
9.รูปลักษณะของฐานชั้นล่างเป็นแบบฐานหมอน เป็นเหลี่ยมมีขอบด้านบน และด้านล่างตรงกลางเป็นร่องเล็กน้อย ถ้าองค์ที่ติดพิมพ์ชัด

 

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox