วัดกลาง เดิมทีชื่อวัดไตร อยู่ต.คลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ปัจจุบันคนทั่วไปมักเรียกว่า ”วัดกลางคลองข่อย” สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะโบสถ์หลังเก่าเป็นโบราณสถานที่มีศิลปะแบบอยุธยา และจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสเดิมทีวัดนี้หันหน้าไปทางแม่น้ำเพราะการเดินทางจะใช้แม่น้ำเป็นหลักตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2300 เป็นต้นมา
ณ วัดกลางคลองข่อยแห่งนี้ มีปรากฎในบันทึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2375 ในรัชกาลที่ 3 ตอนปลายว่าสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านได้ธุดงค์ทางน้ำมาจนถึงบริเวณบางแขยง (ชื่อคลองข่อยเดิม) อันเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน ท่านได้จำพรรษาอยู่ ณ.วัดแห่งนี้และได้สร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร แบบก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ 6 วาเศษขึ้น 1 องค์ โดยหันหน้าสู่แม่น้ำให้เหล่าเทพเทวาและสาธุชนทั่วได้สักการะ เดิมพื้นที่ตรงนั้นเป็นป่ารกชัฏไม่มีคนถากถางป่า ท่านจึงได้เอาเงินโปรยว่านไปทั่วบริเวณป่าว่ากันว่าเป็นเงินตราเก่าๆด้วย พอชาวบ้านรู้ข่าวว่ามีพระเอาเงินมาหว่านในป่าก็เลยพากันมาถากถางป่าเพื่อหาเงิน จึงทำให้บริเวณนั้นเป็นที่โล่งเตียนจนได้เริ่มสร้างองค์พระสำเร็จ การก่อสร้างองค์พระยืนครั้งนี้ท่านได้นั่งสมาธิอธิษฐานจิตพิจารณาสถานที่ก่อสร้างพระประจำทิศ ณ.ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ (ปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ยังอยู่และเล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก) ซึ่งในระหว่างที่ก่อสร้างองค์พระท่านเจ้าประคุณสมเด็จต้องการใช้ไม้ไผ่ ก็เผอิญมีผู้ล่องแพไม้ไผ่ผ่านมาทางนั้นพอดี ท่านไม่มีเงินจึงไปที่บริเวณต้นโพธิ์นั้นแล้วก็ได้เงินมาซื้อไม้ไผ่ตามประสงค์ ในการสร้างองค์พระสันนิษฐานว่าเดิมทีท่านคงจะสร้างพระปางไสยาสน์ (พระนอน) มากกว่าเพราะในวิหารหลังองค์พระยืน (ปัจจุบันรื้อทิ้งไปหมดแล้วและบูรณะก่อสร้างใหม่) มีพระพุทธรูปนอนเป็นหลักฐาน และมีรอยแนวการเรียงอิฐประกอบสมัยนั้นอยู่ แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ก่อสร้างไม่เพียงพอท่านจึงเปลี่ยนมาสร้างเป็นองค์พระยืนแทน ในแกนกลางขององค์พระยืนจะมีเสาไม้ตะเคียนทั้งต้นจำนวน 4 ต้นอยู่ภายใน (ปัจจุบันยังอยู่) แล้วก็ทำการก่ออิฐถือปูนขึ้นเป็นองค์พระ เมื่อกาลเวลาผ่านไปองค์พระยืนนี้เกิดชำรุดหักพัง พระเศียรแตกร้าว พระกรทั้งสองข้างหัก หลังจากนั้นก็มีพระจารย์อวน พรฺหมฺสโร วัดมหาธาตุกรุงเทพซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในถิ่นนั้นย้ายมาอยู่ที่วัดกลางแห่งนี้ท่านจึงได้เป็นประธานจัดการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระยืนขึ้นเมื่อปีมะแม พ.ศ.2474 หลังจากนั้นมาได้มีการบูรณะอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516 และมีการบูรณครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2557 ดังองค์พระยืนที่เห็นในปัจจุบัน องค์พระยืนองค์นี้จึงถือเป็นหนึ่งในองค์พระใหญ่สำคัญที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีสร้างไว้เป็นตำนาน และมีบันทึกเรื่องราวการสร้างพระองค์นี้เป็นภาพวาดบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหมในปัจจุบัน
กล่าวถึงพระสมเด็จวัดกลางคลองข่อย สันนิษฐานว่าพระชุดนี้พบเมื่อครั้งที่องค์พระยืนชำรุดและมีการบูรณะตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อปี 2474 และการบูรณะครั้งอื่นในเวลาต่อมา ซึ่งพระชุดนี้ได้กระจายไปอยู่กับครอบครัวตระกูลใหญ่บ้าง คนเก่าแก่ในพื้นที่บ้าง ช่วงที่ผ่านมาก็มีผู้พบจากลูกหลานของคนเก่าแก่ในพื้นที่พอสมควร ตามประวัติและข้อมูลต่างๆคาดว่าพระชุดนี้มีจำนวนที่พบไม่เกิน 2,000 องค์ เป็นพระสมเด็จที่มีศิลปะพิมพ์ทรงคล้ายกับสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดเกศไชโย รวมถึงเนื้อหาที่ใช้ปูนเปลือกหอยเป็นหลักผสมมวลสารจำพวกเศษอิฐแดง เม็ดดำ เม็ดขาว เม็ดเทา เศษเถ้าใบลาน ก้านธูป เกสรดอกไม้ และอื่นๆตามสูตรโบราณ นอกจากนั้นพระชุดนี้ยังมีเอกลักษณ์ที่สำคัญและสังเกตง่ายคือ รอยปาดด้านหลัง ผิวพระมีรูพรุนกระจายทั่วองค์ มีคราบราดำคราบทรายที่บ่งบอกถึงธรรมชาติของพระกรุ รวมถึงธรรมชาติของพระที่มีลักษณะผิวยุบย่นหดเหี่ยวบิดแอ่นตามแบบของพระที่มีอายุเก่าแก่มาแต่โบราณ องค์พระของจริงจึงมีความสวยงามเป็นธรรมชาติยิ่งนัก
สนใจศึกษาหรือชมองค์พระจริงติดต่อได้ที่ ชมรมสมเด็จวัดกลางแท้ทันยุค ชั้น 2 ซีคอนบางแค ดำเนินงานโดย ไก่ ท่าพระจันทร์และทีมงานบารมีสมเด็จโต โทร. 065-1465199, 085-1118365, 089-7707656, 080-2717722, 084-9458098 ชมรมสมเด็จวัดกลางแท้ทันยุค