เหรียญเจริญลาภ หลวงพ่อรักษ์ สมทบทุนสร้างพุทธมณฑลอยุธยา พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ 26 กรกฎาคม 2563
ตำนานสร้าง “ เหรียญเจริญลาภ “ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ วิ.หรือ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย พระภาวนาจารย์ทรงวิทยาคมขลัง พระมหาเถราจารย์เอกผู้สร้างทานบารมีแผ่ไปทั่วสารทิศ
ได้มีเมตตาอนุญาต ให้คณะศิษย์จัดสร้างเหรียญที่ระลึก เพื่อนำปัจจัยเข้าสมทบทุนสร้างวิหารพุทธมณฑลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการนี้ พระครูปลัดสุรินทร์ ภทฺทมุนี ได้รับมอบหมายจาก หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ ให้ทำพิธีเปิดตำรายันต์โบราณอัญเชิญมหายันต์ต่างๆ มารวบรวมนำอักขระเลขยันต์เข้าไว้ด้วยกันให้เป็นสุดยอดแห่งเหรียญมหายันต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และ ความเข้มขลัง ในศาสตร์พุทธาคมอันศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองกรุงศรีอยุธยา
จากพระเวทคาถาศักดิ์สิทธิ์ “ พระคาถาเจริญลาภ “สู่มหามงคลอิทธิวัตถุมงคลขลัง สวยงามศักดิ์สิทธิ์ครบถ้วนเจนจบด้วย พุทธคุณ บารมีแห่งพระรัตนตรัย และ เทวฤทธิ์ อำนาจแห่ง เทพยดาผู้เรืองฤทธิ์
เหรียญเจริญลาภ ถือเป็นเหรียญเปิดบันทึกตำนานศาสตร์และศิลป์อักขระมหายันต์เวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ จากคัมภีร์สมุดข่อยมหายันต์โบราณ มาจัดสร้างเป็นเหรียญเป็นครั้งแรกที่มีการรวมสุดยอดมหายันต์ครูเป็นครั้งประวัติศาสตร์
ประจุด้วยพระมนต์บทพิเศษ“ พระคาถาเจริญลาภ “ ดั่งพระคาถาว่า นะโมพุทธายะ สัพพะสิเนหา จะปูชิโต สัพพะโกธาวินาสสันตุ อะเสสะโต เมตตากรุณายัง ทะยะวิสา โสปิยามะนา โปเม สัพพะโลกัสมิงฯ..เป็นอาทิ.
ในตำรา หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ กล่าวบันทึกว่าให้สวด ภาวนา ๓ คาบ จักมีบารมีให้เกิดโชคลาภ หรือ จะใช้เสกกับน้ำแล้วใช้ล้างหน้าก็ได้ค้าขายเจริญรุ่งเรืองลาภผลพึงมีไม่ขาดสาย
พญามุจรินทร์นาคราช เทวานาคราชผู้อภิบาลรักษาพระพุทธศาสนาพญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา
ตามตำนาน พญานาค มีอยู่ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ดังเช่น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ “มุจลินท์” ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ “มุจลินท์” เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า
ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา