เก็บข่าว...เล่าเรื่อง

กลุ่มสุดยอดสีผึ้งแดนสยาม โดย เล็กลูก้า ทุ่มทุนหลักล้าน แจกฟรี “สีผึ้งชนะสงครามปรกพล” จำนวน 1,000 ตลับ ถวายเป็นกุศลบุญ แด่ หลวงปู่โป๊ะวัดบ้านบิง

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%b6%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a2

ใครว่าของฟรีจะดีไม่ได้!! กลุ่มสุดยอดสีผึ้งแดนสยาม โดย เล็ก ลูก้า ทุ่มทุนหลักล้านด้วยแรงบันดาลใจเพียงอย่างเดียว คือ ทดแทนคุณครูบาอาจารย์ ด้วยการทำในสิ่งที่ตัวเองรักและถนัดเพื่อถวายเป็นกุศลบุญแด่ “พระเดชพระคุณหลวงปู่โป๊ะ เขมิโย หรือ พระครูปิยเขมคุณ แห่ง วัดบ้านบิง แจกจ่ายฟรี “สีผึ้งชนะสงครามปรกพล” จำนวน 1,000 ตลับ ถวายเป็นกุศลบุญ แด่ หลวงปู่โป๊ะวัดบ้านบิง

ประวัติสีผึ้งปรกพล

           อันสีผึ้งปรกพลนี้ เป็นสีผึ้งตําราเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณ มีประวัติอยู่คู่เมืองขุขันธ์มาแต่อดีต ตามประวัติกล่าวเอาไว้ว่า ท่านพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่ 9 เมื่อครั้งไปปราบเชียงยงค์(เสือยงค์) เมื่อ๑๐๐ก่วาปีก่อนผู้เฒ่าผู้แก่ที่เกิดทันได้เล่าให้ฟังว่าเสือยงค์นั้นเป็นผู้มีวิชาอาคมสูง ตัวเจ้าเมืองศรีสะเกษปราบไม่ได้ เจ้าเมืองสุรินทร์ก็ปราบไม่ได้ ท่านพระยาขุขันธ์ต้องไปปราบเอง ก่อนออกเดินทางท่านได้ผูกเครื่องสำคัญที่คอช้างคือสีผึ้งปรกพล ทั้งสองฝ่ายขี่ช้างยิงกัน กระสุนจากปืนคาบศิลาของเสือยงค์ยิงมาเท่าไหร่ก็ไม่ถูก ไม่โดนแม้กระทั่งช้างเชือกใหญ่ที่พระยาขุขันธ์นั่ง สุดท้ายเสือยงค์ถูกพระยาขุขันธ์ยิงตายด้วยปืนคาบศิลาในการต่อสู้กันในครั้งนั้น

           เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติท่าน วัดกลางขุขันธ์ได้ปั้นรูปพระยาขุขันธ์นั่งบนคอช้างผูกเครื่องรางสีผึ้งปรกพลเอาไว้ที่คอช้างตั้งอยู่ที่หน้าพระอุโบสถจนถึงปัจจุบัน (มีภาพประกอบ) ที่อําเภอขุขันธ์ได้มีการสืบทอดวิชานี้ต่อกันมาหลายรุ่น เท่าที่ปรากฏชัดเจน คือ พระหลักคำอุด วัดสะอาง (เจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์) และ หลวงปู่เสา วัดกุดเวียน จน หลวงปู่สาย วัดตะเคียนราม และ หลวงปู่โป๊ะเขมิโย ท่านได้สืบทอดวิชานี้ต่อมาและได้ส่งต่อมายัง หลวงพ่อทองดีวัดกระต่ายดอน อ.ปรางค์กู่ และคุณนพคุณ ศรีสุภาพ อ.ขุขันธ์ จนถึงปัจจุบัน

           สีผึ้งปรกพลนี้เป็นวิชาชั้นสูงที่ครูบาอาจารย์ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครโดยง่ายถ้าไม่ใช่สายโลหิตหรือศิษย์สืบสายพุทธาคม ด้วยสีผึ้งปรกพลนี้มีอิทธิฤทธิ์คุ้มกันไพร่พลและบริวารได้ถึง ๑๒๐ คน ที่อยู่ในอาณาบริเวณจึงเป็นสีผึ้งที่แม่ทัพนายกองและเจ้าเมืองในอดีตมักอัญเชิญคุ้มครองตนเองและบริวารเสมอ แม้นในยามศึกสงครามก็จะอัญเชิญสีผึ้งชนิดนี้เป็นเครื่องมงคลหลักประจำกองทัพและอัญเชิญอีกหนึ่งตลับไว้ติดเรือนชาน เกิดข้าศึกมาแบ่งกองทัพมาหลายสายก็มิอาจเห็นบ้านเรือนและลูกเมียตลอดจนทั้งบริวารของเหล่าทหารกล้าได้

           ทั้งนี้ตำราสีผึ้งปรกพลนั้นเป็นของชาวขอมโบราณที่มีประวัติอันยิ่งใหญ่สืบต่อมาเป็นพันปีแล้ว เดิมทีจังหวัดศรีสะเกษนั้นเป็นเมืองโบราณตั้งแต่สมัยขอม แต่ต่อมาขอมได้เสื่อมอำนาจลงในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวาประมาณปีพ.ศ. 2256 และได้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวนในปี พ.ศ. 2306 สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้โปรดเกล้าฯยกบ้านโคกลำดวนหรือบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนขึ้นเป็นเมือง และโปรดเกล้าฯให้ตากะจะ หรือหลวงแก้วสุวรรณ หรือ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน อันเป็นต้นตระกูลเจ้าเมืองคนที่ 1 ต่อมาเมืองนี้ได้ชื่อว่า “เมืองขุขันธ์”

 

           พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เดิมชื่อว่า ตากะจะ หรือตาไกร เป็นหัวหน้าชาวเขมรป่าดงบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน พ.ศ.2302 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกมงคลแตกโรงหนีเข้าป่า ไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงเร็ก ตากะจะหรือตาไกร และเชียงขัน พร้อมด้วยหัวหน้าชาวเขมรป่าดง รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะหรือตาไกร เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งหัวหน้านายกองปกครองหมู่บ้าน และท่านได้สร้างความดีความชอบมาโดยตลอดและมีครั้งหนึ่งท่านได้จัดส่งเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าเอกทัศน์ที่กรุงศรีอยุธยาจนเป็นที่พอพระทัยเป็นอย่างมาก ได้รับความดีความชอบจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนในที่สุด ของบรรณาการที่ทางตากะจะจัดส่งไปถวายนั้นมีสีผึ้งปรกพลเป็นของมงคลสำคัญรวมอยู่ในเครื่องบรรณาการนั้นด้วยเช่นกัน

 

          สำหรับผู้ที่สนใจจะติดต่อขอรับสีผึ้งชนะสงครามปรกพล สามารถลงชื่อขอรับได้ที่ FB : กลุ่มบารมีหลวงปู่โป๊ะ และ FB: สุดยอดสีผึ้งแดนสยาม และจะมีแถมฟรีในนิตยสารพระเครื่องฉบับไหนบ้างโปรดรอติดตาม facebook : Lek Luka Vichai Thuraphan หรือโทร 099-352-5916

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox