สุทัญ คำพันธุ์ น้องชายของท่านนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ประธานฝ่ายประสานงานสมาคมฯ ส่วนกลาง และเชี่ยวชาญพระปิดตาและเครื่องราง
สุทัญ คำพันธุ์ น้องชายของท่านนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ประธานฝ่ายประสานงานสมาคมฯ ส่วนกลาง และเชี่ยวชาญพระปิดตาและเครื่องราง
จุดเริ่มต้นในการเข้าสู่วงการพระเครื่อง คุณสุทัญ คำพันธุ์ ได้เล่าให้ทีงานฟังว่า “ผมคลุกคลีอยู่กับแวดวงพระเครื่องมาโดยตลอดด้วยความที่เป็นน้องชายของคุณพยัพ คำพันธุ์ จึงทำให้มีโอกาสได้ติดตามไปไหนมาไหนด้วยเสมอ ก็คอยช่วยพี่ยัพขายของ ถ้าพี่ยัพเค้าไปเช่าพระที่ไหนผมก็จะติดตามไปด้วยและก็พยายามศึกษาดูว่าพระปิดตา หรือเครื่องราง เวลาดูพระเก๊-แท้ต้องดูยังไง จะซื้อ-ขายนี่ต้องทำยังไง ก็พยายามเรียนรู้และศึกษาทุกครั้งที่ได้มีโอกาสติดตามไปเสมอๆ” เรียกได้ว่าอาศัยครูพักลักจำและศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดจึงทำให้เกิดความชำนาญ
พระเครื่องที่คุณสุทัศ คำพันธุ์ ถนัด คือสายพระปิดตายอดนิยม และเครื่องราง เหมือนกับคุณพยัพ คำพันธุ์ โดยมีหลักในการศึกษา โดยยึดจากการดูพระเป็นหลัก คนที่จะเริ่มต้นเล่นพระเครื่องนี่ก็ควรจะเริ่มจากว่าเราชอบพระอะไร ก็ศึกษาพระนั้นให้ถนัด เพราะการที่จะเล่นพระนั้นเราจะต้องศึกษาพระที่เราชอบก่อนให้เคยชิน ถ้ามีของเก๊ของแท้ก็เอามาเปรียบเทียบดู อันนี้เก๊ยังไง แท้ยังไงจะต้องแยกให้เป็น บางคนที่เล่นพระก็อาจจะมีผิดพลาดได้ อย่าไปกลัวทุกคนมีผิดพลาดกันเกือบทุกคน ยิ่งพอมาเจอของเก๊แล้วเราเอามาเปรียบเทียบกับพระแท้ได้มองในแง่ดีเราก็จะจำได้ชัดขึ้น
อย่างถ้าจะศึกษาพระแท้เราก็สามารถขอดูกับผู้ใหญ่ในวงการพระได้ หรือตามงานประกวดพระเวลากรรมการตัดสินพระเสร็จแล้วมีโชว์ในตู้เราก็มาดูได้ ถึงแม้จะดูตำหนิได้ไม่หมดแต่มองเนื้อหาแบบเบื้องต้น พิมพ์ทรงด้วยตาเปล่าก็พอจะทำให้แยกได้เล็กน้อย จากนั้นก็ไปศึกษาเพิ่มเติมเอา หรือเข้าหาผู้ใหญ่ขอคำแนะนำจากท่านก็ได้ แล้วถ้าเราชอบพระอะไรก็ศึกษาพระเครื่องสายนั้นให้ขาด อีกอย่างสมัยนี้มีแหล่งให้ศึกษาเยอะมาก เราก็ดูจากหนังสือก่อนก็ได้ ดูเป็นแค่หลักเริ่มต้นเป็นแนวทาง ดูพิมพ์ ดูทรง แต่ถ้าอยากศึกษาให้ถ่องแท้จะต้องดูจากพระองค์จริงจะเห็นได้ชัดเจน ทั้งเนื้อหา รอยตัดต่างๆ อย่างเช่นถ้าพระปิดตานี่เราก็ต้องดูรัก ต้องแยกให้เป็น รักเก่า รักใหม่ รักอบหรือไม่อบ รักแตกธรรมชาติจะแตกต่างกัน ต้องแยกแยะให้ออก ต้องดูพิมพ์ให้แม่น ถ้าพระที่มีเหล็กจารก็ต้องจำรอยจาร ให้ดีเพราะรอยจารนี่ก็มีตำหนิให้ต้องจำเช่นกันไม่ควรมองข้าม
สำหรับคนที่จะเริ่มต้นเข้ามาสู่วงการพระนั้นคุณสุทัญ คำพัญธุ์ แนะนำว่า ต้องเริ่มต้นจากพระที่ชอบและที่ถนัด เราก็ไปเช่าจากเซียนพระที่เป็นพระสายนั้น อย่างเซียนดังๆ เขาจะมีรับรอง เช่นซื้อมาแล้วถ้าหากเก๊เขาจะมีการคืนเงินให้เรา ถ้าแท้เบื่อมาคืนก็หักเปอร์เซ็น ซึ่งกี่เปอร์เซ็นก็แล้วแต่ว่าเซียนตกลงกับคนเช่าไป ซึ่งพอเราได้พระมาแล้วเราก็เอามาดูมาศึกษาว่าพระแท้เป็นแบบไหน พอเวลาไปเจอพระเก๊ก็เอามาส่องเปรียบเทียบว่ามันแตกต่างกันยังไง ของเก๊กับของแท้เอามาเทียบกันมันก็เห็นชัดเจนและจำง่าย และต้องเล่นตามสากลของสมาคมฯ ที่เค้ารับรอง มีใบการันตี อย่างใบการันตี ก็ต้องดูด้วยว่าเป็นมาตรฐานสากลหรือเปล่า รับผิดชอบหรือเปล่า กรณีที่มีปัญหาขัดแย้งจะหาข้อยุติให้ได้หรือเปล่า ยุคนี้สมัยนี้มีหลากหลายช่องทางให้เลือกอันนี้ก็แล้วแต่เราว่าจะเลือกยังไง ถ้าผิดพลาดไปเขาจะรับผิดชอบไหม รับผิดชอบแค่ไหน เพราะสตางค์เรามันแท้แน่นอนแต่พระที่ได้มานี่สิ เราเป็นเจ้าของเงินถ้า เสียเงินแต่มาได้ของไม่แท้นี่มันเสียความรู้สึก
ปัจจุบันคุณสุทัญ คำพันธุ์ เป็นประธานฝ่ายประสานงานสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ส่วนกลาง คอยดูแลอยู่ที่สมาคมฯ แล้วก็มีศูนย์พระของตัวเองอยู่บนชั้น 3 พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน ชื่อร้านสุทัญ คำพันธุ์ ถ้าจะเข้าไปหาสามารถโทรนัดได้ที่ 091-407-0765 หรือถ้าเจอกันที่งานประกวดพระก็สามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามได้ เพราะจะไปดูความเรียบร้อยทุกงาน
ก่อนสิ้นสุดบทสัมภาษณ์ คุณสุทัญ คำพันธุ์ ฝากย้ำว่า “เงินเราแท้พระก็ต้องแท้ เขาว่าแท้พระนั้นก็ต้องแท้ทั่วไปด้วย ไม่ใช่แท้แค่เขาเล่ามาเขาบอกมา พระแท้ถ้าแท้แล้วอยู่ที่ไหนก็แท้ และต้องเป็นมาตรฐานสากลด้วย ต้องเล่นพระที่วงการเรายอมรับดีที่สุด จะสบายใจที่สุดครับ”