27 กุมภาพันธ์นี้ พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ พระมเหศวร มหาราช เททองหล่อ หลวงปู่ชัช วัดบ้านปูน เกจิอยุธยา
27 กุมภาพันธ์นี้ พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ พระมเหศวร มหาราช
เททองหล่อ หลวงปู่ชัช วัดบ้านปูน เกจิอยุธยา เพื่อกองทุนพัฒนาวัดบ้านปูน เมืองกรุงเก่า
พุทธคุณดีครบทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย เด่นสุดคือคงกระพันชาตรี
พระมเหศวร มหาราช หลวงปู่จอมขมังเวทย์แห่งทุ่งมหาราช เมืองกรุงเก่า “หลวงปู่ชัช วัดบ้านปูน“ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอนุธยา พระเกจิอาจารย์แห่งทุ่งมหาราช กรุงศรีอยุธยา
พระมเหศวร ถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชินอันประกอบไปด้วย พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระหูยาน จ.ลพบุรี พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี พระชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี รวมเป็น ๕ ขุนพลจาก ๕ เมือง ที่เป็นแหล่งพระเครื่องและอารยธรรมสำคัญของประเทศ
“พระมเหศวร”พระมเหศวรแตกกรุจากพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี ๒๔๕๖ ร่วมกรุเดียวกับ ผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ 200 เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์ พระกำแพงศอก พระท่ามะปราง พระลีลาระเวง พระลีลาหลังซุ้มอรัญญิก พระซุ้มจิก พระซุ้มระฆัง พระปทุมมาศ พระกำแพงนิ้ว พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังพระ ฯลฯ
“พระมเหศวร” นับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระยอดขุนพลของเมืองไทย พิมพ์ทรงองค์พระดูแล้วออกจะแปลกตากว่าพระเครื่องประเภทอื่นๆ แต่ก็ต้องยอมรับในฝีมือเชิงช่างของคนสมัยก่อนกับการรังสรรค์งานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด โดยออกแบบให้มี ลักษณะโดดเด่นคือพิมพ์พระด้านหน้าและด้านหลังจะมีลักษณะกลับหัวและสวนทางกัน พราะพระเนื้อชินพิมพ์นี้ส่วน “พระศอ” ขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้ไขปัญหาโดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางซึ่งก็คือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างเยี่ยมยอด
ในสมัยก่อนมีหลายคนอยากได้พระมเหศวรมาครอบครอง เพราะเชื่อว่า “จะช่วยกลับดวงชะตาชีวิตจากร้ายให้กลายเป็นดี” เพราะพิมพ์พระมีลักษณะด้านหน้าและด้านหลังกลับสวนทางกัน นิยมเรียกว่า “พระเพชรกลับ”
ในขณะเดียวกันก็มีคนหัวหมอ หัวขี้โกง อยากได้พระมเหศวรของคนอื่นที่ครอบครองอยู่ โดยพยายามปล่อยข่าวว่า ถ้าคนมีท้องแก่ ใกล้จะคลอดลูกให้นำพระดังกล่าวไปทิ้งไว้ที่เจดีย์เก่าหรือตามวัดร้าง เพราะถ้าเก็บพระไว้ จะคลอดลูกยาก เพราะลูกจะสวนกลับ โดยพยายามบิดเบือนอ้างที่มาของคำว่าสวนไปในทางร้าย
แต่ที่จริงแล้วคำว่ามเหศวรนั้น หมายถึง พระอิศวร ซึ่งมีฤทธิ์อำนาจมากในบรรดาเทพเทวดาทั้งปวงที่พระฤาษีอัญเชิญมาเป็นประธานการสร้างพระนี้ต่างหาก ส่วนบางท่านเข้าใจว่าตั้งชื่อตามชื่อขุนโจรชื่อดังของเมืองสุพรรณบุรีในอดีตคือ “เสือมเหศวร” นั้นคงไม่ใช่ เพราะพระพิมพ์นี้มีการเรียกชื่อมาก่อนเสือมเหศวรจะเกิดเสียอีก
พุทธคุณดีครบทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย เด่นสุดคือคงกระพันชาตรี เมื่อพระมเหศวรของแท้มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ บางองค์สภาพสวยๆระดับแชมป์ราคาเล่นหาต้องมีเงินล้าน ด้วยเหตุนี้ จึงได้ดำริจัดสร้างพระมเหศวร มหาราช ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระฤกแด่ศิษยานุศิษย์ เพื่อให้นำไปคุ้มครองป้องกันตัว
ในการนี้ได้รับความเมตตาจาก พระเกจิอาจารย์ดังร่วมปลุกเสก แผ่นชนวนโลหะ อาทิ หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา จ.อยุธยา หลวงพ่อหลักชัย วัดหลักชัย จ.อยุธยา หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน จ.อยุธยา และ หลวงปู่ธูป วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี และในการนี้ทางหลวงปู่ชัช ได้นิมนต์ พระครูปลัดสุรินทร์ ภทฺทมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นเจ้าพิธีในการผสมมวลสารและพุทธาภิเษก ตามตำราโบราณ โดยมีเคล็ดให้แขวนพระโดยการเลี่ยมแบบตลับให้สามารถเปิดพระกลับด้านได้ จะได้เปิดกลับพระในยามที่ดวงชะตาเกิดถดถอย เพื่อให้ดวงชะตากลับสวนทางจากเดิมให้กลับไปดีขึ้น โดยก่อนที่จะทำการกลับพระนั้น ต้องพนมมือยกพระมเหศวรขึ้น
ตั้งนะโม ๓ จบเสียก่อน แล้วขณะทำการกลับให้ว่าคาถาดังนี้ นะเคลื่อน โมคลาย พุทกลับ ธามิให้ร้าย ยะกลายเป็นดี ขอให้เกิดศรีๆ สารพัดดี ด้วยนะโมพุทธายะ…พุทโธ อะระหัง ธัมมังรักษา คุณไสยทั้งหลาย มุ่งร้ายต่อข้า อะนัตตาสูญด้วย นะโมพุทธายะ ทุกขะโต ทุกขะถานัง พุทธะสัจจัง เว อะมะตะวาจา…ธัมโม อะระหัง สังฆังรักษา มนุษย์ทั้งหลายมุ่งร้ายต่อข้า อะนัตตาสูญด้วย นะโมพุทธายะ ทุกขะโต ทุกขะถานัง พุทธะสัจจัง เว อะมะตะวาจา…สังโฆ อะระหัง พุทธังรักษา อมนุษย์ทั้งหลายมุ่งร้ายต่อข้า อะนัตตาสูญด้วย นะโมพุทธายะ ทุกขะโต ทุกขะถานัง พุทธะสัจจัง เว อะมะตะวาจา นี่คือตำราเพชรกลับของจริง
พระมเหศวร รุ่นนี้ กำหนดการพิธีพุทธาภิเษก “ พระมเหศวร มหาราช “ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 15.00 น. ณ วัดบ้านปูน อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ในวันงานดังกล่าว จะประกอบพิธีเททอง หล่อรูปหล่อโบราณ หลวงปู่ชัช เกจิดังขึ้นด้วยเป็นสุดยอดวัตถุมงคล แห่ง อ.มหาราช
โทรสั่งจอง. 095-692-9659 และ 088-992-3554