ประวัติพระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม พระแห่งโชคลาภคุ้มกันภัย
พระอุปคุต เป็นรูปเคารพที่สร้างขึ้นแทนพระอรหันต์สาวกสำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องว่า มีความเป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ ในสมัยหลังพุทธกาล เช่นเดียวกันกับที่ พระโมคคัลลาน์ ได้รับการยกย่องสมัยเมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพ ชาวพม่า รามัญ นับถือพระอุปคุตเถระ กันเป็นจำนวนมาก จึงมีการสร้างรูปบูชาของท่านขึ้นมา เห็นได้จาก พระบูชาพระอุปคุต ที่มีศิลปะแบบพม่าอยู่มากมาย แต่ถ้าเป็น พระอุปคุต ที่นิยมในวงการพระเครื่อง ต้องยกให้ พระอุปคุต เนื้อสัมฤทธิ์เงิน ศิลปะเขมร ซึ่งมีอยู่มากมายหลายพิมพ์
พระอุปคุต เป็นภาษาบาลี ในขณะที่ภาษาสันสกฤตเขียนว่า “อุปคุปต์” ซึ่งตรงกับภาษาที่พี่น้องชาวไตยบางท้องถิ่น ขานนามท่านว่า “ส่างอุปคุป” โดยมีความหมายว่า “ผู้คุ้มครองมั่นคง” ชาวล้านนารู้จักพระอุปคุต ในนามผู้ปกป้องคุ้มครองภัย โดยเฉพาะการมีปอยหลวง งานพิธีกรรมของส่วนรวม จะมีการอาราธนาพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำ มาคุ้มครองการจัดงาน เพื่อมิให้เกิดเหตุเภทภัย และให้งานลุล่วงไปด้วยดี นอกจากจะเรียกว่า “พระอุปคุต” แล้วยังมีการเรียก “พระอุปคุตเถระ” หรือ “พระเถรอุปคุต“ชื่อนี้เรียกเป็นภาษาชาวบ้าน โดยนำเอาคำว่า เถระ อันเป็นสัญลักษณ์ที่ชี้บอกถึงความมั่นคง ในพระธรรมวินัย หรือบวชพระครองเพศสมณะมาแล้วตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไปและยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกดังเช่น พระนาคอุปคุต พระกีสนาคอุปคุต ฯลฯ
ในบางท้องถิ่นล้านนา เชื่อว่า พระอุปคุตจะตะแหลง (แปลงร่าง) เป็น สามเณรน้อยขึ้นมาบิณฑบาตใน วันเป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ (วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธพอดี) เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตไปตามถนน ทางสี่แพร่งสามแพร่ง ตลอดจนถนนหนทางตามริมน้ำท่าน้ำต่างๆ จนกระทั่ง ตี๋นฟ้ายก หรือแสงเงินแสงทองออกมา จึงเนรมิตกายหายไป เชื่อกันว่า หากผู้ใดมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุต มักทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยทั้งปวง มีสมาธิจิตดี ไม่หลงลืมชีวิตเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สร้าง พระอุปคุต ปางต่างๆ ที่นิยมกันมาก
พระอุปคุต ปราบมาร ให้คุณในทางคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ ปางสมาธิ หรือ พระบัวเข็ม ให้คุณในด้านสติปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุข ด้วยปัญญาบารมี ด้วยประวัติอันทรงฤทธิ์ดังกล่าว พุทธศาสนิกชนจึงสร้างรูปพระอุปคุตขึ้นบูชา โดยมีความเชื่อว่าจะสามารถปกป้องคุ้มครองภยันตรายต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน เมื่อจะจัดงานพิธีสำคัญต่างๆ ขึ้นมักจะมี พิธีอธิษฐานบูชาพระอุปคุต เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ช่วยคุ้มครองให้งานนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ประวัติหลวงปู่พระครูพิพิธปุญญาภิรัติ
หลวงปู่พระครูพิพิธปุญญาภิรัต (ครูบาอินตา กตปุญฺโญ) เป็นพระเถราจารย์ล้านนาเชียงใหม่ ที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม เรียบง่าย ตามแบบอย่างครูบาอาจารย์ และพระสุปฎิบันโนในอดีตกาลผ่านมาเมื่อปี 2490 ขณะที่หลวงปู่ครูบาอินตา อายุได้ 14 ปี โยมบิดาได้นำมาฝากเป็นขะโยม (ศิษย์ก้นกุฏิ) ของครูบาคำ จนฺทวํโส วัดศาลา ได้ท่องบ่นสามเณรสิกขาจนจบ ในปี 2493 ขณะหลวงปู่ครูบาอินตา อายุได้ 17 ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2493 ที่วัดศาลา ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมี พระครูบุญญาภินันท์ (ครูบาบุญชู จนฺทสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้เรียนอักขระภาษาล้านนา อุปัฏฐาก ดูแลครูบาคำ จนฺทวํ โส ตลอดมา
จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2496 โดยมี พระครูบุญญาภินันท์ (ครูบาบุญชู จนฺทสิริ) เจ้าคณะ อ.หางดง วัดกำแพงงาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปั๋น ปญฺญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการบุญมา มณิวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “กตปุญฺโญ”
เมื่อหลวงปู่ครูบาอินตา กตปุญฺโญ ได้อุปสมบทแล้ว ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท ตามลำดับเมื่อปี 2499 ทั้งยังได้ศึกษาร่ำเรียนสรรพวิชาจากพระครูบุญญาภินันท์ พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอธิการอุทา วัดเอรัณฑวัณ เมื่อได้ร่ำเรียนวิชาตามครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมแล้ว ก็ได้รับเอากรรมฐานศึกษาเรียนวิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว คนฺธสีโล (พระครูศีลพิลาศ) วัดศรีสว่าง (วัวลาย) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระวิปัสสนาจารย์สายล้านนาที่มีความเชี่ยวชาญ ถ่ายทอดการปฏิบัติกรรมฐานได้อย่างชำนาญ มีศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก
ซึ่งครูบาเจ้าจันทร์แก้ว คนฺธสีโลเป็นศิษย์ ที่ได้รับการถ่ายศึกษากรรมฐานจากครูบาธรรมชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า ครูบาธรรมชัย วัดร้องแหย่ง รูปนี้ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ล้านนารูปสำคัญที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ความเคารพนับถือ และครูบาชุ่ม โพธิโก วัดไชยมงคล (วังมุย) ก็เป็นศิษย์รูปสำคัญรูปหนึ่ง ที่ได้มาศึกษาร่ำเรียนสรรพวิชาและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงนับได้ว่าหลวงปู่ครูบาอินตา กตปุญฺโญ หรือพระครูพิพิธปุญญาภิรัต เป็นพระเถราจารย์ที่มีครูบาอาจารย์ยุคก่อน ได้วางแนวทางการประพฤติให้ปฏิบัติเป็นอย่างดี เป็นศิษย์กรรมฐานสายครูบาธรรมชัย วัดร้องแหย่งที่สืบทอดจากหลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว คนฺธสีโล (พระครูศีลพิลาศ) ล้วนแต่เป็นพระเถราจารย์ผู้เป็นอริยเจ้า เข้าสู่แดนทิพย์แดนธรรมไปแล้ว
หลวงปู่ครูบาอินตา กตปุญฺโญ ประพฤติปฏิบัติเป็นพระสุปฏิปันโน ที่บริสุทธิ์ สะอาด ที่กราบขอพรได้อย่างสนิทใจที่สุดในปัจจุบัน วัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตา กตปุญฺโญ ที่ได้สร้างเพื่อบำรุงขวัญกำลังใจแก่ศิษยานุศิษย์มีหลายรุ่น โดยมีประสบการณ์เด่นในด้านเมตตา มหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย ด้วยบุคลิกความเมตตาของหลวงปู่ครูบาอินตา จึงได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นมหาเมตตาใหญ่ของเมืองเชียงใหม่
ในวาระมงคล วันมาฆาบูชา ปีนี้ จึงดำริจัดสร้างวัตถุมงคล “ พระอุปคุตบัวเข็ม รุ่น ปราบมาร”
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสมทุนสร้างเขื่อน ผนังกั้นน้ำ ที่บริเวณรอบ วัดศาลา อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ในการนี้หลวงปู่ครูบาอินตา จึงดำริสร้างพระอุปคุตรุ่นแรก โดยได้นิมนต์ให้ พระครูปลัดสุรินทร์ ภทฺทมุนี วัดสุทธาวาสวิปัสสนา ผู้เป็ศิษย์ เป็นเจ้าพิธีกรรมชื่อดัง ในการรวบรวมมวลสารในการประกอบพิธีการสำคัญครั้งนี้ ในการนี้ได้รวมรวมมวลสารเก่า สมัยโบราณ อาทิ. แผ่นทองจังโกหุ้มพระธาตุเจดีย์ แร่เหล็กไหล แร่เหล็กน้ำพี้ แร่เบญจธาตุ ชนวนโลหะธาตุพระเครื่องเก่า แผ่นยันต์จากพระเกจิอาจารย์สายล้านนา พระเกจิอาจารย์สายอยุธยา และทองฝาบาตร แร่ทองแดงโบราณ ชนวนเงิน ชนวนทองคำ ชนวนนาค ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ ชนวนพระกริ่งหลวงพ่อรักษ์ ชนวนพระกริ่งภาคเหนือ ชนวนเหรียญเจ้าสัว เป็นต้น มาป็นชนวนมวลสาระสำคัญในดารจัดสร้างครั้งนี้
ในการจัดสร้างครั้งนี้ได้รับเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ วิ. หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ อนาลโย พระภาวนาจารย์เกจิดังแห่ง วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เมตตารับนิมนต์ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเป็นปฐมบทวาระแรกเป็นกรณีพิเศษ ประกอบพิธีกรรมตามตำรับสายภาคกลางแบบโบราณาจารย์ และ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกสมโภชครั้งใหญ่ ณ อุโบสถวัดศาลา อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมี หลวงปู่ครูบาอินตา กตฺตปญฺโญ เป็นประธานจุดเทียนชัย พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ดังภาคเหนือ ร่วมประกอบพิธีปลุกเสกใหญ่ ตามตำรับพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของล้านนาไทย ซึ่งจะกอบพิธีปลุกเสกสมโภชนี้ ภายใน เดือนเมษายนนี้
ท่านใดสนใจร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญสั่งจอง “ พระอุปคุตบัวเข็ม ปราบมาร” ดังมีรายละเอียด
1.เนื้อเงิน ผิวโบราณ ฝังตะกรุด ทองคำ/เส้นเกสา สร้าง 86 องค์ ทำบุญ 3,500 บาท
2.เนื้อนวะโลหะ ฝังตะกรุด ทองคำ/เส้นเกสา สร้าง 99 องค์ ทำบุญ 999 บาท
3.เนื้อเบญจโลหะ ฝังตะกรุด ทองคำ/เส้นเกสา สร้าง 99 องค์ ทำบุญ 999 บาท
4.เนื้ออัลปก้า รมซาติน ฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 99 องค์ ทำบุญ 899 บาท
5.เนื้อมหาชนวน รมซาติน ฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 99 องค์ ทำบุญ 899 บาท
6.เนื้อทองเทวฤทธิ์ รมซาติน ฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 99 องค์ ทำบุญ 899 บาท
7.เนื้อทองพระธาตุ คาบเบ้าทอง ฝังตะกรุด / พลอยเสก สร้าง 199 องค์ ทำบุญ 299 บาท
8.เนื้อแร่เหล็กทองแดง คาบเบ้าทอง ฝังตะกรุด / พลอยเสก สร้าง 199 องค์ ทำบุญ 299 บาท
9.เนื้อทองฝาบาตร อุดผงว่าน/ฝังตะกรุด สร้าง 888 องค์ ทำบุญ 150 บาท
10.เนื้อสัตตะโลหะ อุดผงว่าน/ฝังตะกรุด สร้าง 888 องค์ ทำบุญ 150 บาท
11.ชุดกรรมการ สร้าง 499 ชุด ทำบุญ 1,900 บาท
-เนื้อมหาชนวน แก่ทองคำ หล่อดินไทย ( มูลค่า 1,500 บาท)
-เนื้อชนวนยันต์ หล่อดินไทย ( มูลค่า 500 บาท )
-เนื้อขาปิ่นโตอุดมลาภ ( มูลค่า 500 บาท )
-เนื้อทองแดงชนวนยันต์ ( มูลค่า 500 บาท )
-เนื้อชนวนทองเหลือง ( รวมทุกมวลสาร)( มูลค่า 800 บาท )
วัตถุประสงค์.เพื่อสมทบทุนในการสร้างเขื่อน ณ วัดศาลา และ เพื่อกองทุนการกุศล กำหนด พิธีมหาพุทธาภิเษก และ รับ วัตถุมงคล ภายใน เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ สอบถามฝ่ายประชาสัมพันธ์วัด 095-6929659 , 088-9923554