พระเครื่องอภินิหาร

หลวงพ่อพิมพ์ ผลปุญฺโญ ศิษย์เอกผู้สืบสายพุทธาคมจากหลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าหลวงพ่อพิมพ์ ผลปุญฺโญ

%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b9%8c-%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%ba%e0%b9%82%e0%b8%8d-%e0%b8%a8%e0%b8%b4

          หลวงพ่อพิมพ์ ท่านเกิดวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2487 ที่บ้านบางไผ่ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ท่านมีพี่น้องด้วยกัน 3 คน หลวงพ่อพิมพ์ท่านเป็นคนกลาง

  • อุปสมบท

          หลวงพ่อท่านได้อุปสมบทที่ พัทธสีมา วัดตลาดชุม อ.วังทอง จ. พิษณุโลก โดยมี พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (ม้วน วิสุทฺโธ) วัดวังทองวราราม(ตลาดชุม) ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ศิษย์เอก พระครูประพันธ์ศีลคุณ (พันธ์ สุสิโม) วัดบางสะพาน พระเกจิผู้เรืองเวทย์แห่งเมืองสองแคว

  • ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่หน่าย

เมื่อหลวงพ่อพิมพ์ท่านอุปสมบทแล้วก็อยู่ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องอ่านหนังสือสวดมนต์ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ปี พ.ศ. 2515 ก็ได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปศึกษาวิชาอาคม กับหลวงปู่หน่าย อินฺทสีโล แห่งวัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ. พระนครศรีอยุธยา ศึกษาวิทยาคม เช่น การสักเสกเลขยันต์ วิชาอยู่ยงคงกระพัน วิชาเมตตามหานิยม การสักยันต์จิ้งจก

  • ในเรื่องการสักยันต์จิ้งจก

          ได้มีเรื่องเล่าถึงประวัติของการสักยันต์ ครั้งนั้นลุงแสวงกับหลวงพ่อพิมพ์ได้ชวนกันไปเอาตำราโบราณ ที่วัดศรีภวังค์ตำราเล่มนี้เก็บไว้บนขื่อศาลา ในขณะที่หลวงพ่อพิมพ์กำลังนำตำราลงมาอยู่นั้น ท่านได้พบงูแสงอาทิตย์นอนขดอยู่บนตำรา หลวงพ่อท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า จะขอนำตำราโบราณเล่มนั้นกลับไปยังวัดบ้านแจ้ง งูนั้นก็เลื้อยลงจากตำรา และหายวับไปกับตา ท่านจึงได้นำตำราโบราณกลับมาให้หลวงปู่หน่าย และเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้หลวงปู่ฟัง เมื่อหลวงปู่ได้เปิดตำราเล่มนั้นอ่านดู หลวงปู่ก็ได้บอกกับหลวงพ่อพิมพ์ว่า ตำราเล่มนี้เป็นการสักยันต์จิ้งจกที่มีมาช้านานแล้ว และไม่มีใครพบเห็นตำราเล่มนี้มานานแล้ว อานุภาพเด่นทางเมตตามหานิยมเป็นอย่างยิ่ง อานุภาพครอบจักรวาล

หลวงพ่อพิมพ์รับตำรากับหลวงปู่หน่าย

          ต่อมาหลวงพ่อพิมพ์ท่านได้ขออนุญาตจากหลวงปู่หน่าย สักยันต์จิ้งจกเป็นครั้งแรก ที่วัดบ้านแจ้ง ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านและศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมาก

          หลังจากนั้นหลวงพ่อพิมพ์ก็ได้รับคำปรารภให้มาดูแลในการสร้างวัดพฤกษะวัน อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เพราะเป็นวัดที่หลวงปู่หน่ายท่านตั้งใจสร้างไว้ในบวรพุทธศาสนา

          ปี พ.ศ.2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพฤกษะวัน พ.ศ.2534 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูวิมลปุญญาภรณ์ และปีพ.ศ.2549 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม พ.ศ.2543 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักรในสาขาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
หลวงพ่อพิมพ์ท่านได้รับความไว้วางใจจากหลวงปู่หน่าย ให้ปลงผมของท่าน ดูแลท่านติดตามไปงานต่างๆ ทั้งยังได้พบเจอพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นสหธรรมิกของหลวงปู่หน่าย เช่น หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี โดยเฉพาะหลวงพ่อเทียมนั้น ท่านยังได้รับความไว้ใจให้ช่วยจารตะกรุดมหาระงับอีกด้วย ไม่ใช่แค่หลวงปู่หน่าย เท่านั้นที่ท่านได้ไปเล่าเรียนศึกษาวิชาอาคมมีพระมหาเถระอีกหลายรูปที่ไม่ได้กล่าวเพราะคงจะยืดยาวเกินไปรับรู้เพียงว่าท่านได้เล่าเรียนสรรพวิทยาคมมาอย่างเจนจบ ทุกกระบวนยุทธ์

หลวงปู่หน่าย

            หลวงพ่อพิมพ์เป็นศิษย์เอกในองค์หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง พระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังด้านสรรพวิทยาคม แห่งเมืองกรุงเก่า ด้วยท่านเป็นพระที่เมตตาสูง ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ท่านจึงมีศิษยานุศิษย์มากมาย ทั้งในและต่างประเทศ แวะเวียนกันมาขอพึ่งบารมีธรรมกันอย่างไม่ขาดสาย เมื่อมีงานบูชาครูใหญ่ประจำปี ที่วัดพฤกษะวัน ช่วงเดือนเมษาของทุกปี จะมีเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งใกล้ไกล ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมพิธีกันจนศาลาขนาดใหญ่ไม่พอจุผู้คนที่มาร่วมพิธี อีกทั้งหลวงพ่อพิมพ์ท่านยังเป็นพระสาธารณะสงเคราะห์ แจกจ่ายข้าวสารอาหารเครื่องอุปโภคต่างๆ บริจาคเตียงนอนผู้ป่วยเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจกับโรงพยาบาลโดยตลอด

          วัตถุมงคลของท่านส่วนมากจะเน้นไปทางเมตตามหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาดปลอดภัย แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นศิษย์เอกหลวงปู่หน่ายสายเหนียว ดังจะเห็นได้ว่าจะมีประสบการณ์ด้านแคล้วคลาดคงกะพันชาตรีอยู่เนืองๆ หลวงพ่อพิมพ์เคยได้รับนิมนต์ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่หลายครั้งด้วยศีลาจารวัตร วัตรปฏิบัติอันงดงาม หลวงพ่อพิมพ์จึงเป็นพระมหาเถระผู้ที่ควรกราบไว้เป็นที่สุด

          หากเราได้เข้าไปภายในวัดพฤกษะวัน จะได้พบกับต้นไม้มากมาย โดยการนำของหลวงพ่อกับเหล่าศิษยานุศิษย์ ปรับภูมิทัศน์ให้เหมาะกับการเป็นที่สัปปายะ ให้ความร่มเย็นแก่ผู้ที่ได้เข้ามาพึ่งพิง

/ขอบคุณข้อมูลจาก บอย ศุภกิจ/

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox