เก็บข่าว...เล่าเรื่อง

อ.รักษ์ ศรีเกตุ แชมป์แฟนพันธ์แท้พระพุทธรูป2006 สหายพระกรุ กลุ่มเซียนพระพระบูชา พระกรุ ภาคเหนือ ให้ความรู้ถึงขุดพบพระเชียงแสน 500-600 ปี

%e0%b8%ad-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c-%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b8%b8-%e0%b9%81%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9b%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%9f%e0%b8%99

          กลายเป็นตกระแสฮือฮาโด่งดังในโซเชียล ถึงเรื่อง สปป.ลาว มีการขุดค้นพบพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ พร้อมฐานพระในแม่น้ำโขง ซึ่งการขุดค้นพบครั้งนี้ ถือว่าเป็นการค้นพบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการขุดค้นเจอครั้งแรกตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา และมีการขุดค้นต่อเนื่องมาตั้งแต่นั้น กระทั่งเจอพระพุทธรูปโบราณและฐานพระในพื้นทรายกลางแม่น้ำโขง ที่ระดับความลึกประมาณ 5.5 ม. โดยขุดเจอฐานพระเนื้อสำริด ความกว้างประมาณ 1.8-2 ม. และห่างกันประมาณ 5 ม. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสำริด หน้าตักประมาณ 1 ม. สูงประมาณ 2 ม. ในสภาพคว่ำหน้า สภาพสมบูรณ์งดงาม คาดว่าเป็นพระประธาน หลังขุดเจอชาวลาวผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาต่างกล่าวสาธุด้วยความยินดี และได้ช่วยกันขุดพระขึ้นมาจากแม่น้ำโขง ก่อนจะนำพระที่ขุดได้ขึ้นรถเพื่อนำไปเก็บรักษาดูแลที่วัดประจำหมู่บ้าน ขณะที่ทางฝั่งฟากประเทศไทย มีทั้งผู้ร่วมยินดี ขณะเดียวกันก้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเก่าของพระพุทธรุปที่ขุดพบ เนื่องจากมีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก จนเป็นที่ถกเถียงกัน

          กระทั่งเซียนพระ แชมป์แฟนพันธุ์แท้พระพุทธรูป 2006 อย่าง อ.รักษ์ ศรีเกตุ ได้ออกมาให้ข้อมูลในมุมมองของนักนิยมสะสมพระเครื่อง และผู้ชำนาญการณ์ด้านพระบูชา ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวและแฟนเพจถึงพระบูชาองค์ที่ขุดพบว่า

        “เอาตรงๆเลยนะ พระบูชาดูง่ายกว่าพระเครื่อง เป็นร้อยเท่า คนเก่งจริงๆแค่เดินผ่านก็รู้ว่าเก๊แท้ จะวัดกันก็ตรงใครเก่ง ศิลป์ กว่ากัน รู้ลึกว่าสมัยไหน หรือร่วมสมัยอะไรกับอะไร เค้าดูกันที่ศิลป์ และสกุลช่าง เนื้อและสนิมเป็นส่วนประกอบ เพราะต่างเนื้อ ต่างสนิม มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และใช้วัตถุดิบอะไรสร้าง แก่ทองแก่เงิน ก็ผุช้าสนิมไม่ยึดเกาะ ยิ่งใหญ่ยิ่งหนาก็สึกกร่อนยาก ซีเรียสทำไม ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว ตามที่ดู ก็ถูกยุคถูกสมัย งานช่างชั้นครู บริเวณที่พบ ก็โบราณสถานชัดเจน ถ้าทำกันได้ขนาดนี้ ก็ยกผลประโยชน์ให้จำเลยเถอะ ระวังแต่เซียนพระบูชาบ้านเรา ถ้าเก๊ตายยกครัว”

          “คำนิยาม ของหลายคน ด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็เกิดการย้อนแย้งตามมา ดังเช่น พระลาว ทำไมหน้าไทยสวยจัง พระจมนํ้าทำไมไม่มีสนิม สุดท้ายตีเก๊เฉยเลยฟังนะทูนหัว แต่ก่อน มันไม่ใช่ประเทศไทย มันเป็น แคว้นเป็นเมือง ปกครองตนเองยังไม่ได้แบ่งประเทศ อนาจักรเชียงแสน อาจกินสองฝั่งไทยลาว และรุ่งเรืองมาก วัดวาอารามเยอะ สกุลช่าง มากมาย ที่เจอน่ะ เชียงแสน เต็มๆ ไม่ใช่เชียงรุ้ง(พระลาว)อย่างที่คุณคิดและเข้าใจ จึงสวยสดงดงามมาก สนิม ถ้าพระจมดิน จมโคลน เจอกลางท้องนาไร่สวน จะขึ้นสนิมเขียว(สนิมแตงโม) แต่ถ้าที่ดินตรงนั้น ทำไร่ทำนาบ่อยใส่ปุ๋ยมาก อาจขึ้นสนิมเขียวผุกร่อน(สนิมเชื้อโรค) ถ้าเจอในวิหาร ในโบสถ หรือที่ที่ไม่โดนแดดฝน ยังคงสภาพเดิม อาจเปลี่ยนแปลงแค่ผิว ที่ผ่าน อ๊อกซายร์ ดำ ส้มเหลืองเข้ม ตามวัตถุดิบที่สร้าง ถ้าพบเจอในนํ้าถ้าไม่จมแบบ สะเทิ้นนํ้า สะเทิ้นบก (คือเปียกๆแห้งๆ) อย่างดีก็แค่สนิมแดง(สนิมเลือด) อีกอย่าง พื้นที่จม เป็นหินปนทราย นํ้าไหลผ่านตลอด สนิทไม่เกาะติดเพราะเป็นโลหะชั้นดี(ทองคำและเงินเป็นตัวประกอบหลัก)อนาจักร เชียงแสน รุ่งเรืองมาก(รวยมาก) คุณย้อนไปดูเหรียญฟูนัน อายุเป็นพันปี ยังคงสภาพเหมือนใหม่ เช่นเดียวกัน ทำความรู้จัก โลหะและสิ่งแวดล้อมที่พบเจอก่อน สุดท้าย อ่านศิลป์ สกุลช่างให้ออก แค่นี้ คำว่าเก๊แท้ จะเกิดกับตัวคุณเอง เงินกับทองคำ เป็นธาตุ บริสุทธิ์ เกิดขึ้นจากธรรมชาติมีอายุเป็นล้านปี มันคงรักษาสภาพเดิมของมันอยู่ เมื่อมาผสมผสานโลหะอื่น มันช่วยยึดความเสื่อมสลาย ของโลหะนั้นๆได้ดีอีกด้วย เข้าใจนะ ศึกษา สกุลช่าง และสมัยให้ดีก่อน รู้แต่โลหะไม่ช่วยอะไรเรื่องเก๊แท้หรอก เพราะคุณไม่ใช่คนหล่อพระ อาจไม่เข้าใจโลหะบางตัวหนี (โลหะบางตัวหลอมแล้วหาย)ของแข็งหลอมละลายกลายเป็นไอ เค้าเรียกระเหิด เข้าใจมั๊ย ถ้าของเหลวกลายเป็นไอ เค้าเรียกระเหย ผมไม่พูดไม่ได้ เพราะผมเป็นแชมป์ สุดยอดแฟนพันธ์แท้พระบูชา แห่งปี2006”      

          “เอาล่ะเรามาพูดถึงกรรมวิธี การสร้างการหล่อพระโบราณ และโยงมาถึงพระสมัยใหม่ ว่าทำกันยังไง จะได้คลายความสงสัยกันไปเลย ก่อนอื่น เมื่อมีการจะเทหล่อพระใหญ่ๆแต่ละองค์ ต้องเตรียมงานกันหลายปี ต้องหาวัตถุดิบให้พอกับองค์พระที่ใช้หล่อ
ช่าง นี่ตัวสำคัญของเรื่องเลย ช่างปั้น คนล่ะคนกับช่างหล่อ น้อยมากที่ทั้งปั้น ทั้งหล่อช่างปั้น ต้องขึ้นหุ่นดินใน แล้วพอกด้วยขี้ผึ้ง ถ้ามีพิมพ์หิน หน้าขาแขน ลำตัวนี่พูดถึงมีพิมพ์นะ ถ้าไม่มีก็ปั้นกัน สดๆเลย นำมาประกอบเป็นรูปร่าง ตามแบบเหมือนโลหะที่้เราเห็นนั่นแหละ (แต่เป็นขี้ผึ้ง) แล้วตัดเป็นท่อนๆเพื่อสะดวกในการหล่อ แล้วมาเข้าลิ่มตอกสลัก เมื่อหล่อเป็นโลหะแล้ว พระศก ปั้นทีละเม็ดวางให้ได้ลงตัวพอดี ตอนเป็นขี้ผึ้ง คุณว่าใช้เวลาเยอะมั๊ย นําหุ่นขี้ผึ้งไปเข้าดินผสมขี้วัว เรียกดินอ่อน แล้วนำดินผสมทรายโปกทับให้หนาเปิดใต้ตูดเป็นรูทางเนื้อโลหะเข้า(เรียกปากจอก)เพื่อเทหล่อใช้ลวดมัดให้ทั่วกันแตกตอนสุมหุ่น การใช้ดินผสมขี้วัว ต้องวัวกินหญ้าเท่านั้น กินอาหารเม็ดไม่ได้ เพราะหญ้าเป็นไฟเบอร์ เมื่อเทแล้วกระเฑาะออกง่าย จึงต้องเข้าขี้วัว เมื่อสุมหุ่นก็หลอมทองไปด้วย เมื่อพิมพ์สุก(ช่างรู้) ก็กลับเอาหัวพระลงดินหงายปากจอกขึ้น นํ้าทองละลายได้ที่ก็ตักเทจนเต็ม ทิ้งให้เย็นกระเทาะดินออก จะได้ชิ้นงามตามต้นแบบทุกประการ ถ้าเทเป็นชิ้นก็แบ่งเทเป็นส่วนๆไป เสร็จแล้วนำมาประกอบตอกมุดเข้าลิ่ม ขัดแต่งตามเจตนา จะลงลักลงทองก็อีกเรื่องนึง นี่คือการเทโบราณ หรือเรียกอีกอย่างว่า เทดินไทยอย่างน้อยก็หลายปีเลยล่ะ กว่าจะสมบูรณ์แบบ

          ที่นี้มาด้วยเรื่องพระใหม่ ถ้ามีพิมพ์ก็ถอดพิมพ์กันเลยไม่ต้องปั้น แม่พิมพ์มักเป็น ยางซิลิโคลน ต้องถอดหลายชิ้น หล่อเสร็จนำมาเรเซอร์ หรืออ็อกเชื่อม การหล่อใช้ปูนยิ๊บซั่มผสมทราย อย่างน้อยๆ3-5เดือนกว่าจะแล้วเสร็จไม่รวมขัดแต่ง ฉะนั้นอย่าพูดอายเค้าบอกพระสามสี่เดือน สุดท้าย คนไทยคนลาว ไม่ได้ตาบอดหูหนวก ขนพระขนาดนั้นไปฝังใต้นํ้ารวมๆหลายร้อยองค์ มันต้องรู้กันทั้งหมู่บ้านหรือจังหวัดร่วมด้วย ต้องเห็นต้องได้ยินบ้างล่ะว่าเค้าทำอะไรกัน เอาตรงๆใช้ทุนเท่าไหรที่หลอกชาวโลก ถ้าจับได้ ขายขี้หน้าทั้งประเทศ คุ้มเหรอ”

   ขณะเดียวกัน สหายพระกรุ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของ ปอ โนบิ, ชิตพล เชียงใหม่ และ แดน 99 เซียนพระกรุ และพระบูชา ภาคเหนือ ได้ออกมาให้ความคิดเห็น พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมในเฟสบุ๊คกลุ่มว่า

         “พระพุทธรูปเชียงแสน ศิลปะไชยปราการ อายุประมาณ 450 ถึง 500 ปี หน้าตัก 2 เมตรกว่า เก่าถึงยุค เป็นการหล่อแบบสามชิ้น หล่อส่วนตัว ส่วนหัว ส่วนขา แล้วเอามาประกอบกันโดยมีสลักยึดติดจะเห็นได้ตามวัดทั่วไปที่มีพระขนาดใหญ่ เช่น พระอู่ทองก็มีการหล่อแบบนี้เช่นเดียวกัน เช่น พระสุโขทัย ก็มีการหล่อแบบนี้เช่นเดียวกัน เช่น เชียงแสนตามวัดต่างๆที่มีขนาดใหญ่ก็หล่อแบบนี้เช่นเดียวกัน”

ขอบคุณ ภาพข่าว : เฟสบุ๊ค อ.รักษ์ ศรีเกตุ และ แฟนเพจ สหายพระกรุประมูลสด โดย ชิตพล แดน99. Fc

อ.รักษ์ ศรีเกตุ แฟนพันธ์แท้พระพุทธรูป2006
ชิตพล เชียงใหม่
แดน 99
   
0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox