พระเครื่องอภินิหาร

พระอาจารย์อินทร์ปัน ญาณธโร วัดป่าชัยนิมิต ต.นาพู่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี สมิงหัวขาด ครูพ่อทองสุข ก้อนบุญ

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93

“…ไผเฮียนกะเฮียนได้ เฮียนแล้วคุมเจ้าของบ่ได้กะเป็นบ้าหลายคน…อยากเฮียนวิชานี้ไผภาวนาฮอดฌานสิแตกฉานกะจาย ซอยผู้คนได้…”

(วิชานี้ใครเรียนก็เรียนได้ เรียนแล้วคุมตัวเองไม่ได้ก็เป็นบ้าไปหลายคน…อยากเรียนวิชานี้ใครภาวนาถึงฌานก็จะแตกฉาน สามารถนำไปช่วยผู้คนได้)

พระอาจารย์ อินทร์ปัน (พิษณุ) ญาณธโร
วัดป่าชัยนิมิต ต.นาพู่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี

          พระอาจารย์อินทร์ปัน เกิดวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ.2517 วันแรม 2 ค่ำเดือน 2 ที่บ้านเลขที่ 206 หมู่ 6 บ้านหนองโก ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น บิดาชื่อ นายจัน คำจำปา มารดาชื่อ นางลัด สุขเสริม จบชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

          หลังจากจบชั้นประถมแล้วได้เข้าบวชเรียนที่วัดศรีสว่าง บ้านหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น อยู่ 2 พรรษา สอบได้นักธรรมชั้นโท บวชอยู่ 2 ปี ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน จนอายุถึง 23 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดป่าอริยทรัพย์ กับ พระอาจารย์สมัย ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

          ปี พ.ศ.2540 ได้เข้าฝึกอบรมตามแนวทางหลวงปู่มั่น กับหลวงปู่บุญรอด วัดถ้ำทรายทอง ซึ่งหลวงปู่บุญรอดเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณศิริ ได้ 1 พรรษาก็ลาสิกขา ก่อนจะกลับหวนบวชอีกครั้งที่วัดลำดวน บ้านหลวง ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูโสภณธรรมคุต เป็นอุปัชฌาย์ พระครูนิคมพัฒนคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสุพรม จิตฺตปญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

          ปี พ.ศ2541ได้ศึกษาจบนักธรรมชั้นเอกทางปริยัติ และได้ออกเดินทางไปศึกษาแนวทางวิปัสสนากับ พระครูโพธาภิรัต หลวงปู่บุญมาก ภูริปัญโญ ตามแนวทางวัดมหาธาตุอยู่ 3 ปี หลังจากนั้นก็ได้เข้าปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่างๆ ที่สำนักวิปัสสนาจัดอบรมขึ้น

          ส่วนเรื่องเวทมนต์คาถาไสยศาสตร์นั้น พระอาจารย์อินทร์ปันท่านได้ศึกษาไว้พอเป็นเครื่องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก และในปี พ.ศ.2541 นี่เองบังเอิญได้พบลูกศิษย์ของ ครูพ่อทองสุข ก้อนบุญ ได้แนะนำและชักชวนไปเรียนวิชา เสือสมิง กับพ่อครูทองสุข ก้อนบุญ แห่งบ้านโนนชนะสังคม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ได้แวะเวียนเดินทางไปร่ำเรียนวิชาเสือสมิงหัวขาดอยู่หลายปี พร้อมกันนั้นก็ได้พบลูกศิษย์พระอาจารย์กัญหา แนะนำให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน นอกนั้นก็ร่ำเรียนแลกเปลี่ยนวิชากับเพื่อนสหธรรมมิกที่บวชรุ่นๆ เดียวกันหลายต่อหลายอย่าง พอทราบว่ามีวิชาอยู่ที่ใด คณาจารย์ใด เปิดสอนก็จะเข้าไปขอเรียนตามเงื่อนไขของท่านอาจารย์นั้นๆ เรียนมากมายหลากหลายวิชา

          ปัจจุบันท่านพระอาจารย์พำนักอยู่ที่วัดป่าชัยนิมิต บ้านศรีบุญเรือง ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ส่วนวัตถุมงคลที่ท่านจัดสร้างในวาระต่างๆ ของพระอาจารย์อินทร์ปัน สายเสือสมิงหัวขาดนับจากวันนั้น ท่านพระอาจารย์อินทร์ปันก็ใช้วิชาหลากหลายด้านผสมผสานกันหมุนจนครบทุกด้าน มีทั้งฝังตะกรุดทองคำ มีดหมอสกดขับวิญญาณ หุ่นพรายพยนต์ วิชาเบี้ยแก้ปรอทวิ่ง ตะกรุดคราง แหวนเทวดา สีผึ้งเสน่ห์เศรษฐี วิชาควายธนู วิชากลาหมุน วิชาไม้เช้าชู้ และอีกหลากหลายวิชา ทั้งสายดำและสายขาว แต่วิชาที่ท่านถนัดคือ วิชาธรรมบรรลุ ซึ่งท่านได้ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในโอกาสดีนี้ ท่านได้จัดสร้างเหรียญเสือสมิงหัวขาดขึ้นเพื่อหาปัจจัยจัดซื้อที่ดินเพื่อเอาไว้สร้างโบสถ์ในภายภาคหน้าให้กับวัดป่าชัยนิมิต ที่ยังขาดแคลนปัจจัยอีกเป็นจำนวนมากเพื่อให้แล้วเสร็จสมบูรณ์

ร่วมทำบุญกับพระอาจารย์อินทร์ปัน โทร. 086-355-3694

***อาจารย์อินทร์ปัน กล่าวไว้ว่า*** (ภาษาอีสานและคำแปล)
          วิชาเสือสมิงหัวขาดตำราว่าไว้ดังนี้ “…ไผเฮียนกะเฮียนได้ เฮียนแล้วคุมเจ้าของบ่ได้กะเป็นบ้าหลายคน ลายนี้ไผลักเอาไปสักกะขลัง แต่กะเป็นบ้าหลายคน สักเอาปีละตน ละลาย ปีเดียวสักหลายตน มันแฮง มันฮอน มันหนักตน ลงน้ำมันสักลาย หั่นอย่าเกินสามตน ลงฮอดสาม เผากะบ่ไหม้ คือไฟบ่ไหม้ อยากเฮียนวิชานี้ไผภาวนาฮอดฌานสิแตกฉานกะจาย ซอยผู้คนได้…”
         แปล : ใครเรียนก็เรียนได้ เรียนแล้วคุมตัวเองไม่ได้ก็เป็นบ้าลายนี้ใครขโมยเอาไปสักก็ขลังแต่ก็เป็นบ้าหลายคน ให้สักเอาปีละตน ปีละลาย อีเดียวสักหลายตนมันแรงมันร้อนมันหนักตน ลงน้ำมันสักลายนั้นอย่าเกินสามตน ลงถึงสามตนเผาก็จะไม่ไหม้ คือไฟไม่ไหม้ อยากเรียนวิชานี้ใครภาวนาถึงฌานก็จะแตกฉาน สามารถนำไปช่วยผู้คนได้ 

          ข้อห้าม มังสังสิบอย่าง ศีลห้า ห้ามลบลู่ผู้มีคุณ พ่อและแม่ครูผู้สัก พระสงฆ์ วันพระขึ้นดอกไม้ ไปใสคิดว่าอันตรายให้ซุบมีดก่อน ขอสิ่งได๋ให้แต่งขันนิมนต์บนบอก คนว่าขลังบ่ขลังกะบ่ฮู้จักแล่ว ดีบ่ดีกะบ่ฮู้จักแล่ว คนมาส่อพ่อ พ่อกะวาจักแล่ว กะสักให่ไปจังสิแล่ว วิชาบ่แมนของอวดของดัง ใผเชียวาดีกะเอาใผวาบ่ดีกะอย่าเอา เอาไปเล่นไปหัวกะอย่าเอามันสิเป็นบ้า สักแล้วอย่าให้คนเห็นคนท้วงของรักษา ซุ้มผีบ้าบาดท่วงว่าเสือบ่มีหัวสิกินหยัง สู่ใผใด้พากันเว้าตลกเฮฮา ซุ้มนั้นเห็นแต่ตายโหงหลายอยู่ ไหว้ครูนั้นสักกะไผ ให้ไหว้ปีละเทีย ไผบ่ไปไหว้ เสือสินอนหลับ
          แปล : มังสัง 10 อย่าง ((มังสัง 10 คือ ห้ามกินเนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หรือแม้แต่เนื้อสัตว์ที่เขาลากมา บังคับมา แล้วก็ฆ่ามา เป็นเนื้อที่มีบาป เป็นเนื้อสัตว์นอกพุทธ)) ถือศีลห้า ห้ามลบหลู่ผู้มีคุณ ห้ามลบหลู่พ่อ และแม่ ห้ามลบหลู่ครูผู้สัก ห้ามลบหลู่พระสงฆ์ วันพระถวายดอกไม้ขันธ์ครู ไปไหนคิดว่าอันตรายให้ชุบมีดก่อน ขออะไรให้แต่งขันธ์บอก คนว่าขลังหรือไม่ขลังก็ไม่รู้ ดีไม่ดีก็ไม่รู้ คนมาฟ้องพ่อว่าคนว่าก็ไม่รู้ ก็สักให้ไปแบบนี้ล่ะ ((อุปมาว่าใครมาว่าให้ว่าเรื่องวิชาขลังหรือไม่ขลังก็อย่าไปสนใจ)) วิชาไม่ใช่ของอวดของดัง ใครเชียร์ว่าดีก็เอา ใครว่าไม่ดีก็ไม่ต้องเอา เอาไปเล่นไปล้อก็อย่าเอาไปมันจะเป็นบ้า สักแล้วอย่าให้คนเห็นคนทักท้วงของรักษา พวกคนบ้าทักว่าเสือไม่หัวจะกินอะไร พากันล้อคุยตลกเฮฮา พวกนั้นเห็นตายโหงกันหลายคนอยู่ ไหว้ครูนัน้สักกับใครให้ไปไหว้ปีละ 1 ครั้ง ถ้าไม่ไปไหว้เสือจะนอนหลับ

คำเตือน ((ภาษาอีสาน))
          “…แมนไผสักแล้ว เที่ยวอวดเที่ยวแสดงประกาศให้คนฮู้ ชี้หม่องให้คนเห็นของรักษาโต แมนโบราณว่าคั่นเขาได้ยิ้มเยอะเย้ย ถ่มน้ำลายดูถูก ผรุสวาสว่าครู ให้ฉิบหาย แมนผู้มีลายนั้นสิเป็นปอบ สู่มื่อนี่บ่เห็นใผพากันถือ จังว่าพากันป่วง…”
          แปลว่า ถ้าใครสักแล้วเที่ยวอวดตนประกาศอวดแสดงตนให้คนรู้ ชี้ให้คนรู้ว่าตนเองมีของรักษา((ครอบครู))ที่ไหนสักที่ไหน โบราณว่าถ้าเขายิ้มเยาะเย้ย ถ่มน้ำลายดูถูก ด่าทอว่าครูให้ฉิบหายผู้นั้นจะเป็นปอบ ทุกวันนี้ไม่เห็นมีใครเขาถือ ถึงว่าสิ…ถึงได้พากันเสียสติ

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox