นีโน่ เมทนี – วิลลี่ แมคอินทอช ร่วมพิธีเสก เหรียญเม็ดแตงท้าวเวสสุวรรณ วัดไผ่เงินโชตนาราม
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 12.09 น. ณ มณฑลพิธี หน้าองค์ท้าวเวสสุวรรณ องค์ใหญ่ วัดไผ่เงินโชตนาราม พระครูธรรมรักขิต (พระอาจารย์สันติ สิริวฑฺฒโน) เจ้าคณะแขวงบางคอแหลม เขต 1 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไผ่เงินโชตนาราม จัดพิธีมังคลาภิเษก เหรียญเม็ดแตงท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งภูติผี อธิบดีแห่งยักษ์ เทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์และเงินตรา ราชาแห่งโชคลาภ เทพแห่งความมั่งคั่ง โดยมีพระเกจิภาวนาอาจารย์นั่งปรก ปลุกเสกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย…. 1. พระราชพัฒนากร (หลวงพ่อสมชาย ฉนฺทสโร) เจ้าอาวาส วัดปริวาสราชสงคราม 2.พระครูยติธรรมานุยุติ (หลวงพ่อแป๊ะ ธมฺมทินฺโน) เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ 3.พระครูสุนทรวีระวงศ์ (หลวงพ่อจันดา ระวิวังโส) เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง 4. พระครูอดุลธรรมานุวัตร (หลวงพ่อประสิทธิ์อุคฺคเตโช) เจ้าอาวาสวัดไผ่เงินโชตนาราม 5. พระครูสรภัญญ์พิสุทธิ์(พระอาจารย์รุ่งแสง ฐิติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดเกาะสุวรรณาราม โดย มีพระมหานัทวุธ ณัฏฐิโก (ท่านพ่อเณร) เลขานุการเจ้าคณะแขวง บางคอแหลม เขต 1 วัดศรีบุญเรือง เป็นเจ้าพิธี
สำหรับเหรียญรุ่นนี้ สามารถบูชาได้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป บูชาทางไปรษณีย์สามารถโอนเงินเข้าบัญชี ธ.กสิกรไทย สาขามหาพฤฒาราม เลขบัญชี 012-2-58235-3 ชื่อบัญชี พระครูธรรมรักขิต( สันติ วงศ์กำภู) สอบถาม
รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 095-297-6304 โต วัดไผ่, 081-297-9550 พระครูธรรมรักขิต
ติดตามข่าวสารข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : บารมีท้าวเวสสุวรรณฯ วัดไผ่เงิน… แฟนเพจ : วัตถุมงคลท้าวเวสสุวรรณ-นารายณ์ทรงครุฑวัดไผ่เงิน
สำหรับวัดไผ่เงินโชตนารามสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2335 (ร. 1) ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เดิมชื่อว่า วัดไผ่ล้อม ต่อมาทางราชการได้เวนคืนที่ดินตำบลคลองเตย ซึ่งวัดเงิน ตั้งอยู่ เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้ วัดเงิน จึงได้รื้อเสนาสนะมารวมสร้างกับ วัดไผ่ล้อม แล้วเปลี่ยนนามเป็น วัดไผ่เงิน ในปี พ.ศ. 2482 (ร. 8) ต่อมาทางวัดได้อัญเชิญ
ประวัติ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระประทานจาก วัดโชติการาม (วัดพระยาไกร) ที่ได้กลายเป็นวัดร้าง พร้อมกับย้ายเสนาสนะมารวมสร้างที่วัดไผ่เงิน จึงเท่ากับเป็นการรวม 3 วัดเข้าไว้ด้วยกัน และได้เปลี่ยนนามวัดเป็นวัดไผ่เงินโชตนาราม ในปี พ.ศ. 2483 ภายในพระวิหารมีหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนปลายต่อสมัยอยุธยา เนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 104 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ในสมัยธนบุรี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป