เกร็ดชีวิตคนดัง

ตุ่น นากาตะ กรรมการสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ตัดสินพระโต๊ะพระบูชา ยกให้อาจารย์ต้อยเป็นแบบอย่าง ตัดสินพระต้อง “เที่ยงตรง ยุติธรรม เป็นกลาง”

%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b0-%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%a1

// จุ๋ม อภินิหาร(ศิริพร)//

พนัส เตียวตระกูลวัฒน หรือ ตุ่น นากาตะ กรรมการสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ตัดสินพระโต๊ะพระบูชา ยกให้อาจารย์ต้อยเป็นแบบอย่าง ตัดสินพระต้อง “เที่ยงตรง ยุติธรรม เป็นกลาง”

          “ผมเข้ามาในวงการพระเครื่องหลายสิบปีแล้วครับ” ตุ่น นากาตะ เซียนพระสายพระบูชากล่าวอย่างเป็นกันเอง ก่อนจะเล่าถึงความเป็นมาคร่าวๆ ให้ฟังว่า “ผมเป็นคนพระนครศรีอยุธยา เมืองอยุธยาก็ขึ้นชื่อเรื่องโบราณสถานอยู่แล้ว ผมก็คลุกคลีกับวัตถุโบราณ พระบูชา พระเครื่องต่างๆ ก็ชื่นชอบจึงเริ่มศึกษามาตั้งแต่วัยรุ่นเลย จนเมื่อราวๆ ปี 35 ด้วยความที่ทราบว่าเซียนพระเก่งๆ และดังๆ สมัยนั้นจะอยู่ที่บางลำพู ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาเล่นพระที่นี่ และเข้าขอความรู้จาก อาจารย์ต้อย เมืองนนท์ ให้ท่านคอยชี้แนะ ควบคู่กับดูพระองค์จริงๆ ไปด้วย จนมีความชำนาญได้เป็นคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยจนปัจจุบันนี้ครับ”

          เมื่อถามถึงหลักในการศึกษาพระเครื่อง ตุ่น นากาตะ เล่าให้ฟังว่า “ผมศึกษาอยู่นานกว่า 10 ปีเลยนะครับ ถึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่อง ในโต๊ะพระบูชา หลักของผมไม่มีอะไรมากครับ ก็อาศัยอ่านหนังสือ พร้อมทั้งดูพระจากองค์จริง การดูพระดูจากหนังสืออย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูพระของจริงเพราะมันจะมีจุดสังเกตให้เราดูซึ่งในภาพก็มองไม่หมดหรอก เช่นเนื้อ ผิวพระ สีดิน ต้องดูด้วยตา และต้องจับต้องครับ ซึ่งการดูพระองค์จริงนั้นเราอาจจะเช่าบูชามาดูเพื่อศึกษาก่อนก็ได้นะครับ พอศึกษาให้รู้พิมพ์พระ รู้ยุคแล้วในส่วนรายละเอียดต่างๆ ก็เข้าไปขอความรู้จากครูบาอาจารย์ ซึ่งครูของผมก็คือ อาจารย์ต้อย เมืองนนท์ เลย ผมให้ท่านเป็นทั้งครู เป็นทั้งต้นแบบในการเล่นพระเครื่องเลย ต้องขอบคุณท่านที่แนะนำให้ผมครับ”

           “ส่วนการดูพระบูชาของผม ก็ดูจากความเก่าเป็นหลัก ความเก่านี้เราจะต้องแยกให้ออกว่าเป็นสมัยไหน สมัยลพบุรีเป็นยังไง อู่ทอง หรือสุโขทัยเป็นแบบไหน และต้องดูดินประกอบกัน อย่างดินยุครัตนโกสินทร์ จะออกดำแดง ถ้าเป็นพระยุคอยุธยาก็จะออกสีน้ำตาล จะไม่มีดำ อะไรแบบนี้ครับ”

          เมื่อถามตุ่น นากาตะ ว่าทำยังไงถึงอยู่ในวงการพระเครื่องได้อย่างยาวนาน “ต้องตัดสินโดยเป็นธรรม เป็นกลาง เก๊ก็บอกเก๊ แท้ก็บอกแท้ เที่ยงตรง ยุติธรรม นี่คือสิ่งที่ผมยึดถืออยู่เสมอครับ”

          ถ้าใครสนใจจะศึกษาพระบูชา ตุ่น นากาตะ บอกว่าก็สามารถเข้ามาพูดคุยปรึกษากันได้ตามงานประกวดพระเครื่องทุกงาน หรือที่พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน แถวหน้าร้าน อาจารย์ต้อย เมืองนนท์ โทรนัดกันได้ 089-111-2985

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox