เกร็ดชีวิตคนดัง

รศ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์ ผู้จัดทำหนังสือ “อาณาจักรเครื่องรางของขลัง” อดีตคณะบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

%e0%b8%a3%e0%b8%a8-%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b9%8c-%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c-%e0%b8%9c

// ตูน ศสุมา//

          เป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่มีโอกาสได้สัมภาษณ์อดีตคณบดี คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกหนึ่งนักนิยมสะสมพระเครื่องอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ด้วยอาชีพของอาจารย์ที่อยู่ในสายเลือดจึงเลือกที่จะฝากความรู้ไว้เป็นตำรา สร้างหนังสือขึ้นมาไว้หลายเล่ม แต่ละเล่มก็เป็นที่ต้องการของนักนิยมสะสมพระเครื่องเพราะมีเนื้อหาสาระครบครัน ทำไปแล้วทั้งหมด 4 เล่ม ส่วนเล่มที่ 5 นี่กำลังวางแผงในท้องตลาดถือเป็นการฝากผลงานของอาจารย์ในวัย 73 ปี

          …ผมเริ่มเก็บสะสมพระเครื่องอย่างจริงจังก็ประมาณปี 07 ตอนนั้นเพิ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามแรกๆ ก็วัดมหาธาตุ หลังจากนั้นก็ย้ายมาท่าพระจันทร์ ผมเลยกลายเป็นสิงห์ 2 สนาม ผมมีนามปากกาตอนนั้นว่า “นัดดา ท่าพระจันทร์” นัดดา คือวัดราชนันดา กับ สนามพระท่าพระจันทร์

          ผมทำศูนย์พระเครื่องตั้งแต่แรกๆ ผมลงหนังสืออาณาจักรพระเครื่อง ผมสะสมพระเครื่องศึกษาพระเครื่องด้วยความชอบส่วนตัวจริงๆ กระทั่งผมได้จััดทำหนังสือขึ้นมาทั้งหมด 4 เล่ม

          เล่มแรก คือ หนังสือภาพพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และรูปหล่อ พ.ศ.2526, เล่มที่ 2 คือหนังสืออาณาจักรเครื่องรางของขลัง เล่ม 1 พ.ศ.2526, เล่มที่ 3 คือหนังสืออาณาจักรพระปิดตา พ.ศ.2536, เล่มที่ 4 หนังสืออาณาจักรพระกริ่ง รูปหล่อ นางกวัก สังกัจจายน์ พ.ศ.2537 ปัจจุบันเล่มที่ 5 หนังสืออาณาจักรเครื่องรางของขลังเล่มที่ 2 ซึ่งกำลังจะออกสู่ตลาดเร็วๆ นี้ ฝากทุกท่านติดตามผลงานชิ้นนี้

          หนังสือเล่มนี้ท่านจะได้รู้จักเครื่องรางของขลังมากมายหลายชนิด หลายรุปแบบ จากคณาจารย์ทั่วประเทศ เช่น ตะกรุด ประคำ แหวนรูปต่างๆ มีดหมอ เสือ ปลัดขิก หนุมาน และเครื่องรางแปลกๆ ที่ท่านไม่เคยเห็นมาก่อน รวมแล้วประมาณ 3,000 ภาพ มีรายละเอียดครบครัน ใช้ดีทางไหน? ใช้อย่างไร?

          โดยส่วนตัวผมชอบเครื่องรางมากที่สุด สมัยก่อนผมเคยเป็นกรรมการตัดสินโต๊ะพระปิดตา แต่ด้วยหน้าที่หลักคือการเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ธรรมศาสตร์ รวมทั้งที่ปรึกษาบริษัทอีกหลายบริษัท ทำให้ผมต้องห่างจากงานประกวดพระเครื่องซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบ

          เมื่อก่อนผมเล่นพระเบ็ดเตล็ด และสมัยก่อนเครื่องรางก็ไม่แพง และผมก็สังเกตุหลายต่อหลายท่านห้อยเครื่องรางติดตัวกันทุกคน ห้อยกระเป๋าบ้าง ห้อยกล้องส่องพระบ้าง จากนั้นผมก็เริ่มสะสมเก็บมาเรื่อยๆ จังหวะหนึ่งผมโชคดีมาเจอรังเก่าเครื่องรางเป็นบ้านเศรษฐีมีสตางค์ถือว่าโชคดีมากครับ

          ผมยกตัวอย่างเรื่องเหรียญ การสร้างก็ปั๊มขึ้นมา ส่วนเครื่องรางกว่าจะได้แต่ละชิ้น เราต้องเอาอุปกรณ์วัสดุไปให้เกจิอาจารย์ กว่าจะนัดวันมารับผมได้เขียนยกตัวอย่างกว่าผมจะได้ตะกรุดหลวงปูาสี วัดสะแก ดอกนึงตั้ง 2 ปี!! สมัยก่อนกว่าจะไปวัดก็ไม่ได้สะดวกเหมือนทุกวันนี้ ต้องลงเรือที่วัดกะสังข์ นัดเรือกว่าจะมารับ และกว่าจะนัดให้มารับของอีก 3 เดือน…ลำบากครับ

          ทำให้ผมนึกถึงคนเก่าแก่ที่กว่าจะไปหาเกจิอาจารย์แต่ละท่านลำบากแสนเข็ญอย่างไร? ส่วนครูบาอาอจารย์ที่สอนผมก็คือทุกท่านที่ผมถาม ทุกท่านที่ให้ความรู้ ผมซื้อพระเค้าก็ถามว่าเก๊แท้ดูอย่างไร? สังเกตุตรงไหน? เค้าก็สอน… แต่เครื่องรางต้องบอกเลยว่าเล่นยากสุดต้องใช้เวลา ความเก่ารองลงมา ศิลปก็ต้องให้ถูก ดูเครื่องมือเครื่องใช้ในการสรา้ง สมัยก่อนต้องใช้เหวี่ยงรีดตะกรุดหนาบางไม่เท่ากัน ด้านสายสิญจน์ความเก่าสำคัญ แต่ถ้ามีของให้ดูบ่อยๆ ก็จะเก่งขึ้น

          ผมถึงบอกว่าถ้าคนสนใจจะศึกษา ไม่มีตำราไม่ได้! จำไม่ได้หรอกครับ อย่างน้อยต้องรู้ว่าตะกรุดแบบนี้ของใคร? ลิงแบบนี้ของใคร? เสือแบบนี้ของใคร? รูปแบบแต่ละเสือ แต่ละหลวงพ่อไม่เหมือนกัน วัสดุก็ต่างกัน… ของพวกนี้ทำได้ทีละชิ้นมีไม่มากหรอกครับ

          ขอฝากหนังสืออาณาจักรเครื่องรางของขลัง เล่มที่ 2 บอกได้คำเดียวว่าคุ้ม!! คุ้มจริงๆ ครับ ผมให้ซีเอ็ด บุ๊ค จัดจำหน่าย รวมทั้งร้านติ๋ม ท่าพระจันทร์ ครับ

          สำหรับน้องๆ รุ่นใหม่ๆ ที่สนใจเครื่องราง ผมแนะนำให้ซื้อหนังสือ 3 เล่ม 1.หนังสือเครื่องรางของคุณพยัพ 2.หนังสือเครื่องรางของคุณตี๋เหล้า และ 3.หนังสือเครื่องรางเล่มที่ผมเขียนนี่แหล่ะ มี 3 เล่มนี้ผมรับรองความรู้คุณภาพแน่นแบบครบมาก รวมทั้งถ้าได้เจอของจริงบ่อยๆ จะประสบความสำเร็จแน่นอน

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox