เกร็ดชีวิตคนดัง

ไพโรจน์ เกษมสุขหินอ่อน เซียนสายตรง รู้ลึก รู้จริง หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ กรรมการรับและตัดสินพระ โต๊ะหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ที่ได้รับการยอมรับในฝีมือว่าจัดจ้านและซื่อตรงที่สุดคนหนึ่ง

%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%99%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b9%80

          ไพโรจน์ ซื่อชัยเจริญ หรือ ไพโรจน์ เกษมสุขหินอ่อน นักนิยมสะสมพระเครื่องสายหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ คงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ด้วยความที่เป็นเซียนสายตรง รู้ลึก รู้จริง มีชื่อเสียงมายาวนานได้รับการยอมรับในฝีมือว่าจัดจ้านและซื่อตรงที่สุดคนหนึ่ง ทั้งยังเป็นคณะกรรมการโต๊ะหลวงปู่ทิมอีกด้วย ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ไม่ใช่โชคช่วยแต่เพราะความที่มีใจรัก แสวงหาความรู้อยู่เสมอ ซึ่งก่อนที่จะเล่นพระนั้น คุณไพโรจน์ เล่าให้ฟังว่า “ก่อนที่จะมาเล่นพระเครื่องจริงๆ จังๆ ได้นั้น ผมทำธุรกิจด้านหินอ่อนกับครอบครัวมาก่อน แต่ด้วยความที่คุณอาผมเค้ามีพระเครื่องมาก ก็เลยทำให้ผมมีความซึมซับและชื่นชอบพระเครื่องมาโดยอัตโนมัติ และก็เหมือนว่าผมพลอยได้รับความรู้มาเรื่อยๆ ครับ”

          ในการศึกษาพระเครื่องของผมตอนนั้นก็ยังไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องศึกษาหลวงปู่ทิมหร็อกนะครับ แรกๆ นั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระเกจิอาจารย์ทั่วไปมากกว่า จนเมื่อผมได้มีโอกาสอ่านข้อเขียนของคุณชินพร สุขสถิตย์ ลูกศิษย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ก็เริ่มมีความศรัทธา เพราะวัตรปฏิบัติปฏิปทาของท่านเด่นชัดมาก ท่านเป็นพระสมถะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เราจะเห็นว่าจะมีพระสักกี่รูปที่ฉันเพียงมื้อเดียว และฉันเจด้วย แม้กระทั่งน้ำเปล่าท่านก็ฉันวันละครั้ง และสุขภาพของท่านก็แข็งแรงอายุ 97 ปีเลย ทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธา และคิดว่าพลังจิตของท่านจะต้องแข็งแกร่งมาก ทำให้คิดว่าพระเครื่องที่ท่านสร้างและปลุกเสกไว้ให้น่าจะมีพุทธนุภาพ หรือพุทธคุณค่อนข้างสูง ทำให้เราเกิดความสนใจในด้านนี้ขึ้นมา

          พอเราไปทราบประวัติท่าน จึงเริ่มสนใจพระเครื่องหลวงปู่ทิมและมาเริ่มซื้อบูชาพระหลวงปู่ทิม น่าจะราวๆ ปี 2527 ได้ ที่ผมเริ่มซื้อเก็บ จังหวะนั้นก็ได้รู้จักกับลูกศิษย์ของหลวงปู่ทิม ทีนี้มันก็เริ่มกว้างขึ้นและมีโอกาสได้พระเครื่องที่แท้จากลูกศิษย์สายตรง แล้วเราก็สามารถไถ่ถามในด้านความรู้ เกี่ยวกับการดู การพิจารณาพระเครื่องของหลวงปู่ทิมได้อีกด้วยครับ

          หลักจากที่ผมเริ่มสะสมและมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอยู่ระยะหนึ่ง พอถึงจุดหนึ่งเราก็อยากจะทราบว่าพระเครื่องที่เราสะสมจะสวย จนถึงระดับขั้นประกวดได้หรือเปล่า และประกวดแล้วเราจะชนะได้รางวัลบ้างไหม จริงๆ นักนิยมสะสมพระก็จะเป็นกันแบบนี้ตามเสตป บางคนเข้าใจเองว่าของตัวเองสวย แต่เมื่อมีงานประกวดและเราได้มีโอกาสนำพระเครื่องที่เราเก็บสะสมไปส่งพระกวดแต่ผลการตัดสินของคณะกรรมการออกมาแล้วของๆ เราไม่สามารถจะสู้ของคนอื่นได้ คือไม่สามารถจะติดรางวัลชนะเลิศได้ ทำให้เรามีความรู้สึกว่าที่เราสะสมไว้ ที่เราคิดว่าสวยมันก็ยังไม่สวยพอที่จะชนะเลิศได้เลย ได้เปิดโลกทัศน์กว้างขึ้น

          ส่วนการมาเป็นคณะกรรมการรับและตัดสินพระโต๊ะหลวงปู่ทิมได้นั้น โดยจริงๆ มันน่าจะเป็นลำดับสุดท้ายที่พอผมส่งพระเข้าประกวดบ่อยๆ เข้า และได้รับรางวัลชนะเลิศโต๊ะหลวงปู่ทิมโล่รวมมาโดยตลอด ก็อยากจะเปิดทางเปิดโอกาสให้คนอื่นเขา จะเรียกว่าถึงจุดอิ่มตัวก็อาจจะเป็นได้ พอดีมีคนแนะนำให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการตัดสินพระ ผมจึงมีความคิดว่าถ้าหากว่าเราเปลี่ยนสถานะของตัวเราเองจากผู้ที่ส่งพระเพื่อชิงรางวัล มาเป็นคณะกรรมการ คนอื่นก็จะมีโอกาสได้รับรางวัลชนะเลิศบ้าง และเราก็ได้ทำประโยชน์มากขึ้น จึงตัดสินใจมาเป็นคณะกรรมการนับแต่นั้นมาก็หลายสิบปีแล้วครับ

          เมื่อถามถึงหลักในการศึกษาพระเครื่อง คุณไพโรจน์ ได้กล่าวยิ้มๆ ว่า ในการจะศึกษาพระเครื่องให้ได้นั้น เราต้องศึกษาเริ่มที่พิมพ์ทรงของแต่ละรุ่น สมมติเหรียญเสมา หลวงปู่ทิม เราก็ต้องศึกษาให้หมด ว่า แม่พิมพ์มีกี่ตัว ตัวตัดมีกี่ตัว ตำหนิหน้าหลังอยู่ที่ตรงไหนบ้าง ต้องใช้การจดจำรายละเอียดจากการที่เราได้ดูได้เห็นหรือมีของแท้ให้ดี ยิ่งถ้าเป็นพระหลวงปู่ทิม มีคนเคยถามผมบ่อยว่าดูยากไหม จะบอกว่ายากก็ยากนะครับ เพียงแต่เราต้องจดจำจากองค์ครู คือองค์แท้ที่เรามีให้แม่นยำ

          สำหรับคนที่อยากจะเริ่มศึกษาพระเครื่อง คุณไพโรจน์ แนะนำว่า เริ่มแรกเราก็คงต้องหาตัวตนของตัวเองให้เจอ ว่าเราศรัทธาท่านในด้านใด หรือมีวัตถุประสงค์ในการสะสมแบบไหน เริ่มต้นต้องบอกก่อนว่าอย่างผมนั้นมีความศรัทธามาก่อนจึงได้ค่อยๆ เช่าหาวัตถุมงคลของท่านมาทีละรุ่นๆ พอเรามีมากแล้วเราถึงค่อยแบ่งปันพระเครื่องให้กับผู้อื่น ค่อยๆ เป็นไปตามเสตปครับไม่ต้องรีบ ให้เล่นโดยยึดหลักการ ไม่เล่นสะเปะสะปะ ซึ่งหลักการนี้ส่วนใหญ่ก็ใช้ได้ในทุกประเภทของพระเครื่อง จะทำให้เป็นนักสะสมที่มีคุณภาพ โดยอันดับแรกนั้นต้องเริ่มศึกษาจากแบบแผนที่ถูกต้อง จากผู้รู้ที่ถูกต้องในแต่ละสาย และถ้ายังติดขัดหรือสงสัยพระเครื่องแต่ละรุ่นก็สอบถามจากผู้ชำนาญการเฉพาะสายโดยตรง เราไม่ต้องอายนะครับ เพราะว่าวงการพระมีแต่มิตรภาพที่ดีให้กัน แต่ถ้าเราเลือกที่จะศึกษาเองโดยที่ไม่มีหลักการโอกาสที่เราจะพลาดโดนคนอื่นเขาหลอกมีอยู่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว ยิ่งเดี๋ยวนี้ข้อมูลหากันง่ายมากและมีเยอะทีเดียว ผู้บริโภคก็ต้องใช้วิจารณญาณในการดูว่าข้อมูลที่เราทราบมา เห็นมา หรือรู้มาถูกต้องหรือเปล่า

คุรไพโรจน์ เกษมสุขหินอ่อน ถ่ายภาพกับ อาจารย์ชินพร สุขถิตย์ ลูกศิษย์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

           ก่อนจะลงสนามจริงก็ต้องสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ เมื่อเราเกิดข้อสงสัยอะไรก็ต้องกล้าที่จะสอบถามนะครับ อย่าไปกลัว อย่าไปฟังคนอื่นเยอะ เซียนพระที่ดีมีคุณภาพมีจรรยาบรรณมีอยู่เยอะ อย่างถ้ารู้จักผมเจอกันที่ไหนก็สอบถามได้ แต่ถ้ามางานประกวดก็อยากให้มาร่วมการกุศลกัน มาซื้อบัตรส่งพระ เพราะผมก็ทำหน้าที่ในตำแหน่งคณะกรรมการ สงสัยอะไรซื้อบัตรส่งพระแล้วมาส่งมาสอบถามกันที่โต๊ะได้ครับ
หากใครสนใจที่จะศึกษาพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ สอบถามถามได้ที่เฟสบุ๊ก เกษมสุข หินอ่อน สระบุรี หรือที่ร้านเกษมสุขหินอ่อน ที่ อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ติดต่อนัดล่วงหน้าได้ที่ 081-946-7744

          ท้ายนี้อยากจะบอกว่า “ถ้าเราคิดว่าวงการพระให้สิ่งที่ดีมีประโยชน์กับเรา ในวันหนึ่งที่เรามีความรู้แล้ว เราก็ควรแบ่งปันความรู้ของเรา หรือแม้กระทั่งพระเครื่องที่แท้ให้กับผู้อื่นเป็นสิ่งตอบแทน ต่อไปมันจะเกิดความยั่งยืนขึ้น แต่ขออย่างเดียวคือเราต้องมีจรรยาบรรณที่ดี อย่าหลอกลวงคนอื่นเท่านั้นเอง”

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox