เกร็ดชีวิตคนดัง

พิเชษฐ์ วงศ์วรรณ หรือที่วงการพระรู้จักกันในชื่อ เชษฐ์ ร้อยเอ็ด คณะกรรมการตัดสินเหรียญยอดนิยมภาคกลาง

%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b9%8c-%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a8%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88
เหรียญรูปไข่ พระธาตุพนมช่วยไทย กระหลั่ยทอง ปี 2482

          วันนี้เกร็ดชีวิตคนดังจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเซียนพระคนดัง หนุ่มกรุงเทพแต่เชียวชาญพระเครื่องสายอีสาน น้องๆ สายอีสานต่างให้ความเคารพ อดีตเป็นฝ่ายประสานงานภาคอีสาน 20 จังหวัด ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการตัดสินเหรียญยอดนิยมของภาคกลาง เดินสายช่วยงานอยู่เสมอ บุคคลท่านนี้คือ…

เหรียญรูปไข่ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508 เนื้ออัลปาก้า

“พิเชษฐ์ วงศ์วรรณ หรือที่วงการพระรู้จักกันในชื่อ เชษฐ์ ร้อยเอ็ด”

          “จริงๆ พื้นเพผมเป็นคนกรุงเทพ แต่เนื่องด้วยที่บ้านมีอาชีพค้าขายหลอดไฟทั่วประเทศ ต้องรับหน้าที่รับผิดชอบในเขตภาคอีสาน จึงย้ายมาอยู่ที่อีสานครับ หลังจากอยู่อีสานได้ประมาณ 2 ปี วันหนึ่งก็เห็นคนเขานั่งส่องพระกันด้วยความอยากรู้จึงเดินเข้าไปดู แล้วอยากลองส่องดูมั่งว่าไม่รู้เค้าดูอะไร จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาพระเครื่องและชื่นชอบในพระเครื่อง” เชษฐ์ ร้อยเอ็ด ย้อนวันวานถึงเหตุที่ให้มาสนใจพระเครื่องและเดินทางบนเส้นทางสายนี้

          ซึ่งเริ่มต้นที่ทำให้ศึกษาพระเครื่องมากขึ้นนั้น เกิดจากว่าในตอนแรกที่เน้น ซื้อเก็บตามตลาดพระ แต่พ่อถามคนหนึ่งบอกว่าพระองค์นี้แท้ พอเราสอบถามอีกคนกลับตอบว่าเก๊ ก็เลยทำให้อยากจะศึกษามากขึ้นแล้วก็ออกเดินสาย โดยพระเครื่องที่ เล่นช่วงแรกเป็นพระเครื่องสายอีสานมาก่อน อย่างเช่น อาจารย์ฝั้น พอเราเดินสายเล่นหาไปเรื่อยๆ ก็กว้างขึ้นมีคนรู้จักมากขึ้น ได้รู้จักพระกว้างมากขึ้น และศึกษาพระเครื่องมากขึ้น ก็ได้เจอพรรคพวกเพื่อนฝูง จนได้มีโอกาสรู้จักกันกับพี่ตุ้ม ขอนแก่น ก็ไปไหนมาไหนด้วยกันจึงได้ศึกษาเรียนรู้วิชาต่างๆไปด้วย

          หากถามถึงพระเครื่องที่ เชษฐ์ ร้อยเอ็ด ถนัดที่สุด ได้รับคำตอบว่า “พระเครื่องที่ถนัดโดยตรงเลยคือสายอีสานทั้งหมด อย่างเช่นอาจารย์ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงพ่อฝาง หลวงปู่ทิม หลวงปู่ดุลย์บรรดาพระพื้นที่ต่างๆ ได้หมดครับ”

          ส่วนหลักในการเล่นพระของ เชษฐ์ ร้อยเอ็ด คือ คุณต้องศึกษาให้ดีก่อน โดยดูจากหลายๆ แหล่งรวมกัน บางทีศึกษาจากตำราอย่างเดียวก็ไม่ได้ อย่างสมัยก่อนจะดูจากหนังสือแล้วก็เดินสายสอบถามจากผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนที่เขาเป็นอยู่แล้ว การติดต่อมันยากต้องออกเดินสาย ศึกษาตามพื้นที่ท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย อย่างบางรุ่นบางเหรียญมีหลายบล็อกก็ต้องมานั่งศึกษาว่าแต่ละบล็อกเป็นยังไงรายละเอียดแบบไหนปลีกย่อยต่างๆ เราก็ต้องมานั่งค่อยๆ ส่องดูและสอบถามผู้ใหญ่ควบคู่ไปด้วยเพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่เป็น โดยหลักใหญ่ๆ ตัวเราต้องพยายามศึกษาให้ได้ด้วยตัวเอง เพราะถ้าเราสอบถามอย่างเดียวคนนั้นว่าแท้คนนี้ว่าเก๊ก็ยังหาที่สิ้นสุดไม่ได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นตัวเราเองต้องศึกษาจากหลายๆทาง โดยเฉพาะต้องเล่นพระแท้เท่านั้น อย่างตัวผมเองนั้นพระเก๊ไม่อยู่ในสายตาอยู่แล้วดังนั้นเราก็จะต้องดูและให้ละเอียดและจำให้มาก ยิ่งทุกวันนี้พระเก๊มีเยอะและทำออกมาใกล้เคียงกับของจริงมากไม่เหมือนกับสมัยก่อน เพราะฉะนั้นตัวเราเองต้องหมั่นศึกษาตำหนิรายละเอียดต่างๆให้ชัดเจนมากกว่าเก่าครับ เรียกว่าต้องดูทุกวัน จับทุกวัน ส่องทุกวัน

          ผมอยากจะแนะนำคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากจะเข้ามาเล่นพระเครื่องหรือสนใจในวงการพระเครื่องว่า ทุกวันนี้การจะเข้ามาเล่นพระเครื่องนั้นมันง่ายมันสะดวก สื่อมันไว แต่การที่คุณจะเข้ามาอยู่ในสมาคมหรือจะมาเล่นพระแท้นี้คุณต้องเป็นคนที่ศึกษาให้ถ่องแท้ เพราะทุกวันนี้เอาง่ายๆ แค่คุณมีเงินก็เข้ามาซื้อ-ขายได้ อันนี้ผมไม่ได้ว่านะครับ แต่แค่อยากจะบอกว่าการจะมาเป็นเซียนพระนั้นไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ที่พอเข้ามาปุ๊บซื้อขายด้วยหน่อยก็เรียกว่าเป็นเซียนใหญ่ ผมว่าคำว่าเซียนบางทีมันสำคัญนะครับ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะมาเอ่ยจะมาเรียกว่าเป็นเซียนกันได้ง่ายๆ อย่างคนสมัยก่อนกว่าจะได้เป็นเซียนมันต้องผ่านสนามมาเยอะ พระก็ต้องผ่านตาผ่านการส่องเยอะ ศึกษาจดจำพระเครื่องพอสมควรเลย แต่ทุกวันนี้พอซื้อแป๊บเดียวแล้วขายได้ก็เรียกตัวเองว่าเซียนแล้ว ผมมองว่ามันไม่ใช่แบบนั้นคือน่าจะเป็นอาชีพคนซื้อ-ขายพระมากกว่าเรียกว่าเซียน นอกจากการศึกษาพระเครื่องให้ดีก่อน แล้วที่สำคัญต้องเคารพผู้ใหญ่ด้วย เซียนพระรุ่นพี่เราต้องให้เกียรติและเคารพกันไม่ใช่ว่า พึ่งจะซื้อขายพระได้หน่อย ก็กระโดดข้ามหัว รุ่นพี่ ทั้งๆ ที่ยังถามว่าพระรุ่นนั้นดูยังไง รุ่นนี้ดูอย่างไร

          “ส่วนถ้าใครอยากจะพูดคุยหรือว่าอยากศึกษาพระเครื่องสายอีสาน สามารถไปพบกันได้ตามงานประกวดพระฯ หรือโทรมาได้ที่ 090-949-9891 มาปรึกษามาพูดคุยกันได้เป็นแบบพี่แบบน้องไม่จำเป็นต้องมีหัวโขน “เชษฐ์ ร้อยเอ็ด กล่าวทิ้งท้าย

0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox