สังคมวงการพระ

ชมรมอนุรักษ์พระเครื่องสกลนคร จัดงานประกวดพระครั้งแรก สำเร็จดังตั้งใจ

%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-4
          สำเร็จเสร็จสิ้นไปด้วยดีสำหรับงาน ประกวดอนุรักษ์พระเครื่องและเหรียญคณาจารย์จัดโดยชมรมอนุรักษ์พระเครื่องสกลนคร โดยมีคุณจำรัส อุปพงษ์ (แอ๊ว สกลนคร) เป็น ฝ่ายประสานงาน, คุณอาทิตย์ อุปพงษ์ (อาทิตย์ สกลนคร) ประธานชมรมอนุรักษ์พระเครื่องสกลนคร เป็น ประธานดำเนินงาน ณ รงแรมสกลแกรนด์พลาเลส อ.เมือง จ.สกลนคร ระหว่างวันเสาร์-วันอาทิตย์ที่ 26-27 ตุลาคม 2567 ผู้ที่ได้รับรางวัล รางวัลชนะเลิศคะแนนรวมยอดเยี่ยมสูงสุด ได้แก่ บ้านพระเครื่อง ได้ 223 คะแนน รับ เงินสด 30,000 บาท มีรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายดังนี้ จำหน่ายบัตรส่งพระได้ 617,400 บาท, ประมูลพระ 649,000 บาท สปอนเซอร์ 610,000 บาท, เงินบริจาค 22,000 บาท, แผงพระจรยุทธ ได้ 112,200 บาท รวมทั้งสิ้น 2,010,600 บาท
          โดยในวันที่ 26 ตุลาคม 2567) เวลา 19.00 น. ชมรมอนุรักษ์พระเครื่องสกลนคร จัดงานเลี้ยงต้อนรับคณะกรรมการและจัดประมูลพระเครื่องเพื่อนำรายได้เข้างานประกวดพระ ณ ห้องจัดเลี้ยงเทศบาลสกลนคร ได้รับเกียรติจาก คุณพิสิษฐ์ แร่ทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ตัวแทนจากทางจังหวัด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ได้รับเกียรติจาก คุณชยุต ธัญศรีชัย หรือ ศิลป์ เมืองทอง  อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ตัวแทนจากผู้บริหารสมาคมนิยมพระเครื่องพระบูชาไทยส่วนกลาง กล่าวให้การสนับสนุน มี คุณจำรัส อุปพงษ์ (แอ๊ว สกลนคร) ตัวแทนจากชมรมอนุรักษ์พระเครื่องสกลนคร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน มีผู้ร่วมประมูลพระเครื่องดังนี้
          รายการที่ 1 : พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มอบโดย ป๋าต้อย เมืองนนท์ ผู้ชนะประมูลได้แก่ โจ้ มหาเฮง ประมูลได้ไปในราคา 80,000 บาท ตี๋ สุรินทร์ บริจาคเพิ่มอีก 10,000 บาท รวมรายการนี้ทั้งสิ้น 90,000 บาท
          รายการที่ 2 : เหรียญพระธาตุเชิงชุม เนื้อทองคำหมายเลข ๑ ผู้ชนะประมูลได้แก่ กอล์ฟ ลพบุรี ประมูลได้ไปในราคา 70,000 บาท
          รายการที่ 3 : เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น ๖ พร้อมกรอบรูปและแผ่นจาร ผู้ชนะประมูล ได้แก่ นก พระสวย ประมูลได้ไปในราคา 35,000 บาท
          รายการที่ 4 : เหรียญเจริญพรล่างหลวงพ่อคูณ เลี่ยมกรอบทอง ผู้ชนะประมูลได้แก่ โชค อุตรดิตถ์ ประมูลได้ในราคา 22,000 บาท
          รายการที่ 5 : เหรียญพระธาตุเชิงชุม เนื้อทองคำหมายเลข ๘ ผู้ชนะประมูลได้แก่ ศิลป์ เมืองทอง ประมูลไปในราคา 70,000 บาท
          รายการที่ 6 : รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณมอบโดย ต้นลำปาง รูปหล่อหลวงพ่อองค์แสน พิมพ์โบราณขนาด 9 นิ้ว ผู้ชนะประมูลได้แก่ ใจ ตะพานหิน ประมูลไปในราคา 22,000 บาท
          รายการที่ 7 : พระบูชาพระอาจารย์เชาวรัตน์ ขนาด 12 นิ้ว และพระบูชาหลวงปู่แหวน ขนาด 9 นิ้วและ 7 นิ้ว ผู้ชนะประมูลได้แก่ นก พระสวยประมูลได้ไปราคา 14,000 บาท
          รายการที่ 8 : รูปหล่อพระแม่อุมามอบโดยสหายพระกรุ ผู้ชนะประมูลได้แก่ บุ้ง กำแพง ประมูลไปในราคา 22,000 บาท
          รายการที่ 9 : รูปหล่อหลวงตาบุญหนาขนาด 9 นิ้วและรูปหล่อหลวงปู่สิงห์ขนาด 9 นิ้ว ผู้ชนะประมูลได้แก่ หมง จันทบุรี ประมูลไปในราคา 17,000 บาท
          รายการที่ 10 : ผ้าป่าปางเลไล แผ่นปั๊มพระพุทธชินราช และหนังสือเรียนหลวงปู่ทวด ผู้ชนะประมูลได้แก่ บุ้ง กำแพง ประมูลไปในราคา 15,000 บาท
          รายการที่ 11 : เหรียญพระธาตุเชิงชุมเนื้อทองคำหมายเลข ๙ ผู้ชนะประมูลได้แก่ กอล์ฟ ลพบุรี ประมูลไปในราคา 85,000 บาท
          รายการที่ 12 : เหรียญซุ้มเรือนแก้วเลี่ยมทองและพระบูชายืนหลวงปู่ฝั้น ผู้ชนะประมูลได้แก่ ป้อม สกลนคร ประมูลไปในราคา 25,000 บาท และร่วมบริจาคอีก 5000 บาท ผู้ร่วมรายการนี้ทั้งสิ้น 30,000 บาท
          รายการที่ 13 : ล็อกเกตเลี่ยมทองรูปภาพพระอาจารย์ฝั้น ผู้ชนะประมูลได้แก่ ประดับ พลคล้าย ประมูลได้เป็นในราคา 20,000 บาท
          รายการที่ 14 : รูปหล่อหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์พร้อมรูปภาพ ผู้ชนะประมูลได้แก่ โจ เมฆสิทธิ์ ประมูลได้ไปในราคา 20,000 บาท
          รายการที่ 15 : รูปหล่อหลวงปู่หมุน มอบโดยนี สะพานใหม่ และรูปหล่อหลวงปู่สรวง ผู้ชนะประมูลได้แก่ วี มหานคร ชนะประมูลไป 12,000 บาท
          รายการที่ 16 : รูปหล่อหลวงพ่อองค์แสน อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่ศิลาพร้อมรูปภาพและรอยจาร ผู้ชนะประมูลได้แก่ ชัย อำนาจเจริญ ประมูลไปในราคา 32,000 บาท
          รายการที่ 17 : รูปหล่อหลวงปู่ศิลารุ่น 2 พร้อมรอยจาร รูปภาพ ผู้ชนะประมูลได้แก่ เบิร์ด เขมราฐ ประมูลไปในราคา 25,000 บาท
          รายการที่ 18 : พระเศรษฐีนวโกฏิและรูปเหมือนหลวงพ่อรุ่ง ผู้ชนะประมูลได้แก่ แม็ก นางรอง ประมูลไปในราคา 20,000 บาท
          รายการที่ 19 : พระบูชาสององค์ ผู้ชนะประมูลได้แก่ หมง จันทบุรี ประมูลไปในราคา 16,000 บาท
          รายการสุดท้ายรายการที่ 20 : วัดไร่ขิง แผ่นปั๊มยันต์แปะโรงสี ผ้ายันต์ไอ้ไข่ ชุดไอ้ไข่และหนังสือ ผู้ชนะประมูลได้แก่ กอล์ฟ ลพบุรี ประมูลไปในราคา 12,000 บาท สรุปรวมยอดการประมูลพระในค่ำคืนนี้ได้ทั้งสิ้น 649,000 บาท
          ส่วนในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมสกลแกรนด์พลาเลส อ.เมือง จ.สกลนคร ชมรมอนุรักษ์พระเครื่องจังหวัดสกลนคร เปิดงานนิทรรศการการประกวดการอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชาจังหวัดสกลนครอย่างเป็นทางการ โดยมี คุณโกมุท ทีฆธนานนท์ นายกเทศมนตรีนครสกลนคร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานประกวดฯ มี คุณชยุต ธันศรีชัย (ศิลป์ เมืองทอง) อุปสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย นี สะพานใหม่  เลขานุการสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ประธานกรรมการบริหารสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทยแต่ละจังหวัด ให้การสนับสนุน
          ผู้ที่ได้รับรางวัล รางวัลชนะเลิศคะแนนรวมยอดเยี่ยมสูงสุด ได้แก่ บ้านพระเครื่อง ได้ 223 คะแนน รับ เงินสด 30,000 บาท
          มีรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายดังนี้ จำหน่ายบัตรส่งพระได้ 617,400 บาท, ประมูลพระ 649,000 บาท สปอนเซอร์ 610,000 บาท, เงินบริจาค 22,000 บาท, แผงพระจรยุทธ ได้ 112,200 บาท รวมทั้งสิ้น 2,010,600 บาท
0 Comments

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox