พระอาจารย์ณัฐพล อธิจิตฺโตสมภารอายุน้อยแห่งวัดภูพระ ที่สรรพวิชาและศรัทธาจากสาธุชนไม่น้อยดังเช่นอายุ
๏ อัตโนประวัติ
พระอาจารย์ณัฐพล อธิจิตฺโต นามเดิมชื่อณัฐพล อาทิตย์ตั้ง เกิดที่บ้านแห่ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดา พ่อบุญธรรม อาทิตย์ตั้งโยมมารดา แม่รังทอง อาทิตย์ตั้ง วัยเด็กได้มีโอกาสบวชเณร เล่าเรียนวิชาหลวงพ่อพระครูพระราชสิทธาจารย์ จากหลวงปู่พระครูวิโรจน์ โดยได้เรียนจากตำราไม่ได้เรียนจากตัวท่านเพราะว่าท่านมรณภาพไปนานแล้ว จากนั้นก็ลาสิขาออกมาใช้ชีวิตทางโลก ได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์เด่นดวง ติสฺสโร วัดน้อยสามัคคีธรรม จนกระทั่งอายุ 26 ปี จึงตัดสินใจอุปสมบท อยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตรขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พัทธสีมาวัดท่าสะแบง เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 โดยมี ท่านพระครูสุทธิวโรภาส รองเจ้าคณะอำเภอทุ่งเขาหลวง เจ้าอาวาสวัดท่าสะแบง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหา ดร.ทองจันทร์ กมโล รองเจ้าอาวาสวัดท่าสะแบง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระทรงพล ถาวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อธิจิตฺโต”
๏ ศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชา
ตอนบวชอยู่ก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาตำราจาก ท่านพระอาจารย์ต้อม ปภัสสโร วัดท่าสะแบง มอบให้ และท่านพระอาจารย์เด่นดวง ติสฺสโร วัดน้อยสามัคคีธรรม
จากนั้นอาจารย์เด่นดวงได้พาไปฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์สายัณห์ นิสฺสโภ เจ้าอาวาสวัดโนนนารี ศึกษาเล่าเรียนตำหรับตำราเสือดำตาแดง ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ที่สืบทอดวิชาจากบรมครูต้นสายวิชาเสือดำตาแดง ของ หลวงปู่แพง วัดโพธิ์ร้อยต้น อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ในระหว่างนั้นก็ศึกษาตำราที่พระอาจารย์ต้อม ปภัสสโร วัดท่าสะแบง มอบให้ควบคู่กัน และยังได้ศึกษาศาสตร์ของเขมรโบราณ และวิชาครูกุลา ศึกษาจาก พ่อคำมา หงษ์ทอง จอมขมังเวทย์แห่งลุ่มน้ำแม่มูล จ.สุรินทร์ ปู่ใหญ่ พ่อทองแดง เสนาภักดิ์ ได้รับมอบตำราหลวงปู่สีดาจาก พ่อบุญทัน และยังได้ศึกษาวิชาตำราเกี่ยวกับการขับไล่ภูตผีปีศาจ คุณไสยต่างๆ ของปู่ชม ฆราวาสอีกท่านหนึ่ง เพื่อจะเอาไว้ช่วยเหลือผู้คน
เรียนวิชาต่างๆ ไปมาอยู่ระหว่างวัดท่าสะแบงกับวัดน้อยสามัคคีธรรมร่วมสิบปี จนกระทั่งแตกฉาน ก็ออกธุดงค์ไปทางประเทศลาว เดินทางไปเรียนวิชาที่ประเทศกัมพูชา กระทั่งได้ร่ำเรียนวิชาเขียนยันต์ตายฟื้น(รัตนมาลา) ยันต์เสริมดวงเสริมบารมี และยันต์พระกรณีสายสมเด็จลุน มีโอกาสออกธุดงค์ไปทางจังหวัดนครพนม จังหวัดกาฬสินธุ์
กระทั่งได้เรียนกรรมฐานจาก หลวงปู่ประสงค์ ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีโอกาสได้เรียนตำราวิชาสายหลวงปู่สมเด็จลุน วัดเวินไซ นครจำปาสัก จากหลวงปู่เสริม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน มอบให้
๏ พระอาจารย์ณัฐพลได้ยันต์องค์ครูจากเสียงลอยลม
วันหนึ่งขณะที่พระอาจารณัฐพลปักกรดที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะที่กำลังเข้าฌาณสมาธิอยู่นั้น อยู่ๆ ก็ได้ยินเสียงแว่วมาจากที่ไกลๆ ดังกังวาลและเย็นยะเยือก พูดเป็นอักขระภาษาบาลี 8 ตัวว่า “สะ มะ สุ อะ วะ สะ มะ อะ” และนอกจากจะได้ยินอักขระคาถาทั้ง 8 ตัวนี้แล้ว ยังได้ยินคำพูดลอยลมตามสบทบมาอีกเป็นภาษาอีสานสำเนียงแปล่งหูว่า “กุ้มลูกแหล่งได้ 12 คน” แปลว่า “คุ้มครองคนได้ 12 คน” ซึ่งจากความหมายนี้ จึงเข้าใจว่าคาถาที่เสียงนั้นบอก น่าจะบ่งบอกว่าคาถาที่อาจารย์ได้ยินก่อนหน้านั้น คือคาถาด้านคุ้มครองป้องกันภัยนั่นเอง และหลังจากที่อาจารย์ได้ยินทุกสิ่งทุกอย่างก็เข้าสู่สภาวะปกติ คือมีแต่ความเงียบ นับแต่นั้นมาอาจารย์ณัฐพลก็ใช้คาถานี้เป็นยันต์องค์พระ คุ้มครองปกป้องลูกศิษย์ลูกหามาโดยตลอด
๏ สร้างวัตถุมงคล
ในราวๆ ปี 2559 อาจารย์ณัฐพล ก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่บ้านจวงเจริญ ก็เริ่มมีลูกศิษย์ลูกหาเข้ามาให้ช่วยเหลือ และด้วยความเมตตาเป็นที่ตั้งจึงได้ช่วยขจัดปัดเป่าให้ หลังจากครั้งนั้นก็เริ่มมีลูกศิษย์ลูกหาคอยแวะเวียนมาให้ช่วยอยู่เสมอ จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสิบ และจากสิบก็เข้าสู่หลักร้อย พัน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเสียงลือเสียงเล่าอ้างผ่านปากต่อปากและสื่อโซเชียล และเมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น หลายคนที่อยู่ไกลไม่สามารถเดินทางมาหาได้ จึงอยากมี อย่าได้ วัตถุมงคลของท่าน ไว้ปกป้องคุ้มครอง รวมถึงเสริมดวง บารมีในการประกอบอาชีพ จึงร้องขอให้พระอาจารย์ส้รางวัตถุมงคลขึ้น ท่านจึงริเริ่มสร้างวัตถุมงคลของตนเองขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งก็คือ พระปิดตาองค์เล็ก และในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้สร้างเหรียญคู่บารมี 2 หน้า พระอาจารย์เด่นดวงกับพระอาจารย์อนุสรณ์ หรืออาจารย์ต้อม วัดท่าสะแบงขึ้น โดยได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์ต้อมเป็นผู้ตั้งชื่อเหรียญรุ่นนี้ให้ ทั้งยังร่วมอธิษฐานจิตสมทบกำกับให้อีกด้วย เป็นเหตุให้วัตถุมงคลของท่านทั้ง 2 รุ่นหมดในเวลาอันรวดเร็ว
๏ มาเป็นสมภารวัดภูพระ
ถึงแม้พระอาจารย์ณัฐพลจะมีชื่อเสียง แต่ท่านก็ยังคงเดินจาริกออกธุดงควัตรอยู่ไม่ขาด กระทั่งปี 2563 ท่านได้เดินทางไปปักกรดเพื่อเจริญสมาธิอยู่วัดภูพระ ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ห่างไกลจากบ้านเรือน จึงมีความสงบเงียบอย่างมาก เหมาะแก่การการมานั่งบำเพ็ญจิตภาวนา จึ่งได้เดินทางมาทำสมาธิอยู่ที่นี่บ่อยๆ กระทั่งได้รู้ว่า วัดภูพระร้างแห่งนี้นั้น แต่เดิมเคยมีพระจำพรรษาและมีการก่อสร้างเสนาสนะขึ้น จากความศรัทธาของชาวบ้าน ตั้งแต่สมัยก่อร่างสร้างพระธาตุพนม ในยุคอาณาจักรศรีโคตรบูรเจริญรุ่งเรือง ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่าจะมีการสร้างองค์พระธาตุพนม จึงได้สร้างพระพุทธรูปมากมายหลายขนาดเพื่อจะนำไปบรรจุในองค์พระธาตุพนม ตามความเชื่อความศรัทธาของคนในยุคนั้น เดินทางมาพำนักอยู่ที่ภูพระแห่งนี้ได้ไม่นาน ก็ได้ทราบข่าวว่าพระธาตุพนมนั้นสร้างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงตัดสินใจนำพระที่ตนเองเตรียมมานั้นตั้งไว้ที่ภูพระแห่งนี้ พร้อมกันนั้นก็ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้น แต่ภายหลังจากนั้นวัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งมีชาวบ้านขึ้นมาพบพระพุทธรูปมากมายบนนี้ จึงเรียกที่นี่ว่าภูพระนับแต่นั้นมา และมีพระมาปักกรด รวมทั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดภูพระนี้ และไม่นานก็กลายเป็นวัดร้าง ขณะเดียวกัน พระที่เคยประดิษฐานอยู่บนภูพระ ก็ค่อยๆ หายไป จวบจนกระทั่งพระอาจารย์ณัฐพลมาปักกรด ชาวบ้านที่ทราบข่าวว่ามีพระธุดงค์มาเจริญสมาธิที่วัดร้างแห่งนี้ จึงนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี่ และร่วมกันบูรณะวัดร้างแห่งนี้ขึ้นอีกครั้ง
๏ ฟื้นวัดร้าง สร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นพุทธบูชา
และตั้งแต่ที่ท่านพระอาจารย์ณัฐพลอยู่ที่นี่ ก็ฟื้นฟูทำบุบำรุงเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดเรื่อยมา ด้วยศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ที่ทราบว่าท่านมพำนักอยู่ที่วัดภูพระแห่งนี้ รวมถึง บอย อติพล หรือ บอย กุดชุม เซียนพระชาวอุบลราชธานี ที่ได้ย้ายมาสร้างครอบครัวอยู่ที่อำเภอกุดชุม ได้ยินชื่อเสียงของพระ อาจารย์ณัฐพล จึงได้เดินทางมาที่วัดภูพระแห่งนี้ และจากการสอบถามท่านและลูกศิษย์ที่เดินทางมา จึงทำให้ทราบว่าท่านเป็นพระเกจิที่มีความรู้ความสามารถทางด้านคาถาอาคมและเลขยันต์ ถือว่าเป็นพระเกจิเป็นศิษย์มีครูบาอาจารย์มากมายหลายท่าน อีกทั้งยังเคยมีประสบการณ์จากวัตถุมงคลของท่าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พอทราบข่าวว่าท่านดำริจะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตัก 11 เมตร เพื่อประดิษฐานอยู่ที่วัดภูพระ ให้ประชาชนกราบไหว้บูชาสักการะ ตามตานดั้งเดิมของภูพระแห่งนี้ จึงขอเป็นสะพานบุญในการหาสาธุชนคนใจบุญ มาร่วมสร้างบุญใหญ่ด้วยกัน จึงได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษาคุณกานต์ นามบุตร หรือ ชัย อำนาจเจริญ ประธานกรรมการบริหารสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จังหวัดอำนาจเจริญ
ซึ่งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน ทั้งคุณชัยเองก็เป็นคนที่ชื่นชอบการทำบุญ จึงได้ร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคล ของพระอาจารย์ณัฐพลขึ้นชื่อรุ่นเหรียญหน้าเสือบูชาครูรุ่นแรก เพื่อนำรายได้มาดำเนินการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ รวมไปถึงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดภูพระ ตามที่พระอาจารย์ณัฐพลตั้งใจไว้ เมื่อนำความเข้ากราบเรียนพระอาจารย์ณัฐพล ท่านก็อนุญาตให้ดำเนินการจัดสร้าง โดยสร้างทั้งหมดเพียง 4,569 เหรียญเท่านั้น ทำพิธีพุทธาภิเษกอธิษฐานจิตโดยพระอาจารย์ณัฐพล กำหนด พุทธาภิเษก 5 วาระ วาระแรก วันที่ 29 สิงหาคม 2566 วัดภูพระ, วาระสอง วันที่ 10 กันยายน 2566 วิหารหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง จ.ศรีสะเกษ, วาระสาม วันที่ 21 กันยายน 2566 วัดโพธิ์ร้อยต้น ต่อหน้าสถูปหลวงปู่แพง บรมครูต้นสายเสือดำตาแดง, วาระสี่ พระอาจารย์ณัฐพล ปลุกเสกเดี่ยว ตลอด 1 ไตรมาส, วาระห้า วันที่ 29 ตุลาคม 2566 วัดภูพระ บนผลาญหินตรงที่กำลังก่อสร้างฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่(พระเจ้าใหญ่ไทยเจริญ)
รายการวัตถุมงคลมีดังนี้ ชุดกองกฐิน เนื้อทองแดงลุ้นเซอร์ไพรส์ 1 เหรียญ กองละ 499 บาท จำนวน 999 กอง, เหรียญทองคำนำฤกษ์ 2 เหรียญ, ชุดทองคำ 9 ชุด, เนื้อเงินหลังเรียบ 99 เหรียญ, เนื้อชนวน 99 เหรียญ, เนื้อแบลคโรเดียม 299 เหรียญ, เนื้อทองแดงหลังเรียบ 199 เหรียญ, ชุดกรรมการ39 ชุด ภายในชุดจะประกอบด้วย เนื้อเงิน 1 เหรียญ เนื้อนวะ 1 เหรียญ และตะกรุดเงิน 1 เหรียญแจกกรรมการอีก 199 เหรียญ และสร้างถวายพระอาจารย์เอาไว้แจกตำรวจจังหวัดยโสธรและประชาชนที่มาร่วมงานฟรีรวม 1,500 เหรียญ ส่วนอีกพันกว่าเหรียญนั้น นำมาเป็นรางวัลในงานประกวดพระขอบคุณชัยอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 7-8 ตุลาคม 2566 ซึ่งได้ดำเนินการสำเร็จเรียบร้อยไปแล้ว ซึ่งทางทีมงานจัดสร้างก็ได้ถวายผ้าป่าเป็นต้นบุญ จำนวน 100,000 บาท และคุณชัยถวายพระอาจารย์ณัฐพล เพิ่มอีกจำนวน 100,000 บาท รวมทั้งสิ้น 200,000 บาท เรียบร้อยแล้ว ในวันงานประกวดเมื่อปี 2566
สำหรับใครที่สนใจอยากจะร่วมบุญสามารถเดินทางไปที่ สำนักสงฆ์ภูพระ บ้านสามแยกภูกอย ต.ไทยเจริญ อ.ไทยเจริญ จ.โสธร หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บอย กุดชุม 084-7659261, ชัย อำนาจเจริญ 085-300-7545, เอ๋อุบลพระใหม่ 099-235-1697และ กลุ่ม บารมี พระอาจารย์ ณัฐพล วัด ภูพระ. บ้านสามแยก ต.ไทยเจริญ อ.ไทยเจริญ