วัดบางบอนเสกเหรียญปางพุทธลีลารุ่นแรก(ย้อนยุค) ที่ วิหารหลวงพ่อเกษร พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรกปลุกเสก 6 รูป
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.39 น. ที่ วิหารหลวงพ่อเกษร วัดบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พระเดชพระคุณ พระครูปรีชาวุฒิกร(พระอาจารย์มาโนช วชิรวุโธ) เจ้าคณะแขวงบางบอน เจ้าอาวาสวัดบางบอน ได้จัดพิธีพุทธาภิเษก เหรียญปางพุทธลีลา รุ่นแรก(ย้อนยุค) โดยมี พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข น.ธ.เอก, ป.ธ.๕) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง เป็นองค์จุดเทียนชัย
พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรกปลุกเสก 6 รูปประกอบด้วย 1.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ(หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอาราหลวง 2.พระครูอุทัยบวรกิจ(หลวงพ่อตี๋ ปวโร) วัดดอนขวาง อ. เมือง จ. อุทัยธานี 3.พระครูวิสุทธิ์วิทยาคม (หลวงพ่อทอง สุทธสีโล) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 4.พระครูอาคมสิทธิสุนทร(หลวงพ่อวิชัย ปญฺญาทีโป) วัดสันติวิหาร อ.หนองแค จ.สระบุรี 5.พระครูโสภิตจริยานุวัตร(หลวงพ่อสมชาย เกสโร) วัดหนองน้อย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 6.พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (หลวงพ่อสะอาด อาวุธฺฑสีโล) วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ นั่งปรกปลุกเสก
โดยมี พระมหานาคจากวัดระฆัง 4 รูป สวดพระคาถามหาพุทธาภิเษก ได้เวลาอันสมควร ท่านเจ้าอาวาสวัดบางบอน ได้กราบนิมนต์ หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว เป็นองค์ดับเทียนชัย
วัตถุมงคลพระพุทธปางลีลารุ่นนี้ เปิดให้บูชาที่ วัดบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดได้ที่ ท่านพระครูปรีชาวุฒิกร เจ้าอาวาสวัดบางบอน โทร. 081-196-2292
ทั้งนี้วัดบางบอน เดิมเรียกว่า วัดใหม่ตาเฉย ชาวบางบอนใต้นำโดยปู่เฉยและย่ากัน เปียธัญญา และเพื่อนบ้านร่วมกันสร้างวัด ปู่เฉยและย่ากันได้บริจาคที่ดินของตนเมื่อปี พ.ศ. 2453 โดยเริ่มจากสร้างเป็นเพิงไม้ปูพื้นด้วยไม้กระดานไว้ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของตน แต่ต่อมาวัดได้ย้ายฝั่งตรงข้ามกับที่ตั้งวัดบางบอนปัจจุบัน พระภิกษุศิริ สิริปญโญ มีดำริสร้างอุโบสถหลังใหม่ให้ถาวรแทนอุโบสถหลังแรกที่ปู่เฉยเมื่อ พ.ศ. 2459 และได้สร้างพระพุทธปฏิมาประธานซึ่งมีพระนามว่า พระบรมศรีสุคต อุดมพรตชินกูล พุทธบรมบพิธ (พุทโธ) ชาวบ้านเรียกพระนามท่านว่า หลวงพ่อเกษร โดยทำพิธีทองหล่อพระพุทธรูปขึ้นที่วัดราชโอรสาราม เล่ากันว่า เมื่อครั้งอัญเชิญพระพุทธรูปลงเรือมาตามแม่น้ำ เครื่องยนต์เรือเกิดดับก่อนถึงใต้สะพานข้ามรถไฟ ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จนต้องนำขึ้นฝั่งเดินทางทางบก เพื่อให้พระพุทธรูปอยู่เหนือสะพาน